หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มจร เฉลิมพระเกียรติฯ ได้ดำเนินโครงการรักษ์ภาษาวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมชาติพันธุ์ท้องถิ่นน่าน ( Design-based Learning : DBL) ในวันอังคารที่ 27 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ณ ลานกิจกรรม อาคารศูนย์บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
1) กิจกรรมตกผลึกทางองค์ความรู้ “ภาษาโซ่ทองคล้องไทยให้เกษม” จากรายวิชา พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน นิสิตชั้นปีที่ 2 และรายวิชาภาษาศาสตร์ ที่ปรึกษารายวิชา อาจารย์คนงนาฏ รุณวุฒิ , อาจารย์ประทีป ยศนรินทร์
2) กิจกรรม “สะท้อนคิดเชิงบูรณาการ” ชั้นปีที่ 1 จาก วิชาการเมืองการปกครองของไทย,รายวิชาศาสนาทั่วไป และรายวิชาเทศกาลและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ปรึกษารายวิชา อาจารย์ประทีป ยศนรินทร์, อาจารย์ ดร.สุวารี รวบทองศรี และอาจารย์จอมพณ สมหวัง
3) กิจกรรม สะท้อนคิดทางองค์ความรู้ เรื่อง “ร้อยกรองคล้องใจ” รายวิชาร้อยกรองไทย ชั้นปีที่ 3 และ รายวิชาการวิจัยและนวัตกรรมการสอนภาษาไทย ที่ปรึกษารายวิชาอาจารย์สุบินรัตน์ รัตนศิลา และ ผศ.สมคิด นันต๊ะ
4) กิจกรรม สะท้อนคิดทางองค์ความรู้เรื่อง “การสร้างหนังสือภาษาไทยในดวงใจสำหรับเด็ก” จากรายวิชาการสร้างหนังสือภาษาไทยสำหรับเด็ก ชั้นปีที่ 4 ที่ปรึกษารายวิชา อาจารย์จอมพณ สมหวัง
5) กิจกรรม “สร้างความสัมพันธ์ด้วยบทเพลง สำหรับเด็ก” จากวิชาวรรณคดีไทยปริทัศน์ และรายวิชาเทคโนโลยีช่วยสอนภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 ที่ปรึกษารายวิชา อาจารย์สุบินรัตน์ รัตนศิลา และ ผศ.สมคิด นันต๊ะ
6) กิจกรรม “ครูคือใคร ใครคือครู” ชั้นปีที่ 3 ที่ปรึกษารายวิชา อาจารย์สุบินรัตน์ รัตนศิลา
กิจกรรมดังกล่าวนิสิตหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ชั้นปีที่ 1- 4 ได้นำหลักการการเรียนรู้เชิงออกแบบเป็นฐาน ( Design-based Learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งตามกิจกรรม หรือโครงงานที่เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะของการเรียนรู้ การวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา การวางแผน และเชื่อมโยงในสิ่งที่ตนสนใจ ตามบริบทสถานการณ์ขณะนั้น และเกิดทักษะทางสังคมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อเตรียมความพร้อม ให้กับผู้เรียนกับความเปลี่ยนแปลงตามยุคปัจจุบัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และการขยาย ขอบเขตความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษา และพัฒนาการศึกษา ด้วยกระบวนการออกแบบการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ แล้วใช้การทดสอบโดยการสังเกต และการใช้เหตุผล ( Observation and Reasoning) ในการปฏิบัตินำเสนอกิจกรรมดังกล่าวตามสถานการณ์จริง
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มจร เฉลิมพระเกียรติฯ ได้สรุปผลการจัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) ในรายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ชั้นปีที่ 1- 4 โดยเทคนิควิธีการประเมินตามสภาพจริงที่หลากหลายให้ความสำคัญกับการประเมินการปฏิบัติ (Performance Assessment) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 นิสิตชั้นปีที่ 2 สังเกตการสอนในสถานศึกษา ระหว่างวันที่ 24 พ.ค. – 6 ก.ย.2566 ,นิสิตชั้นปีที่ 3 ทดลองสอนในสถานศึกษา ระหว่างวันที่ 25 พ.ค. – 31 ส.ค.2566 ,นิสิตชั้นปีที่ 4 ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ระหว่างวันที่ 26 พ.ค. – 8 ก.ย.2566 และ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 นิสิตชั้นปีที่ 1 สังเกตบริบทในสถานศึกษา ระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 – 16 กุมภาพันธ์ 2567 ในโรงเรียนเครือข่ายฯ พื้นที่จังหวัดน่าน รวมทั้งสิ้น 44 โรงเรียน

ดูรูปภาพกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่

My Website