ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)

ข้อมูลทั่วไป

ประเทศสิงคโปร์       สิงคโปร์ (อังกฤษ: Singapore) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (อังกฤษ: Republic of Singapore) เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ละติจูด 1°17'35" เหนือ ลองจิจูด 103°51'20" ตะวันออก (1°17′N 103°51′E) ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ ติดกับรัฐยะโฮร์ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย
  ไฟล์:1 singapore city skyline dusk panorama 2011.jpg
ที่มา :  http://th.wikipedia.org/wiki/ลาว
ชื่อเป็นทางการ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
ชื่อเมืองหลวง สิงคโปร์
วันชาติ 9 สิงหาคม
วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510
ภาษาประจำชาติ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษามาเลย์ ภาษาทมิฬ
ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ
ศาสนาประจำชาติ พระพุทธศาสนา ศาสนาฮินดู คริสต์ศาสนา และลัทธิเต๋า ตามลำดับ
สกุลเงิน ดอลลาร์
ลักษณะภูมิศาสตร์

ภาคกลางและภาคตะวันตกเป็นเนินเขา ซึ่งเนินเขาทางภาคกลางเป็นเนินเขาที่สูงที่สุดของประเทศ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของสิงคโปร์ และภาคตะวันออกเป็นที่ราบต่ำ ชายฝั่งทะเลมักจะต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ต้องมีการถมทะเล

ภูมิประเทศ

ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 - 108 องศาตะวันออก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับประเทศจีน (423 กิโลเมตร)
ทิศตะวันออก ติดกับประเทศเวียดนาม (2,130 กิโลเมตร)
ทิศใต้ ติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และประเทศกัมพูชา (541 กิโลเมตร)
ทิศตะวันตก ติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และประเทศพม่า (235 กิโลเมตร)
ความยาวพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กว่ากิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร

แผนที่
ลักษณะภูมิอากาศ
[]ข้อมูลภูมิอากาศของประเทศสิงคโปร์
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภมูิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 34.3
(93.7)
35.2
(95.4)
36.0
(96.8)
35.8
(96.4)
35.4
(95.7)
35.0
(95)
34.0
(93.2)
34.2
(93.6)
34.3
(93.7)
34.6
(94.3)
34.2
(93.6)
33.8
(92.8)
36.0
(96.8)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.1
(86.2)
31.2
(88.2)
31.6
(88.9)
31.7
(89.1)
31.6
(88.9)
31.3
(88.3)
30.9
(87.6)
30.9
(87.6)
30.9
(87.6)
31.1
(88)
30.6
(87.1)
30.0
(86)
31.0
(87.8)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 23.3
(73.9)
23.6
(74.5)
23.9
(75)
24.4
(75.9)
24.8
(76.6)
24.8
(76.6)
24.6
(76.3)
24.5
(76.1)
24.2
(75.6)
24.1
(75.4)
23.7
(74.7)
23.5
(74.3)
24.1
(75.4)
อุณหภมูิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 19.4
(66.9)
19.7
(67.5)
20.2
(68.4)
20.7
(69.3)
21.2
(70.2)
20.8
(69.4)
19.7
(67.5)
20.2
(68.4)
20.7
(69.3)
20.6
(69.1)
21.1
(70)
20.6
(69.1)
19.4
(66.9)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 243.2
(9.575)
159.9
(6.295)
185.7
(7.311)
178.9
(7.043)
171.3
(6.744)
162.1
(6.382)
158.7
(6.248)
175.4
(6.906)
169.2
(6.661)
193.8
(7.63)
256.9
(10.114)
287.4
(11.315)
2,342.5
(92.224)
ความชื้นร้อยละ 84.7 82.8 83.8 84.8 84.4 83.0 82.8 83.0 83.4 84.1 86.4 86.9 84.2
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 15 11 14 15 15 13 13 14 14 16 19 19 178
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 173.6 183.6 192.2 174.0 179.8 177.0 189.1 179.8 156.0 155.0 129.0 133.3 2,022.4
แหล่งที่มา1: National Environment Agency (Temp 1929-1941 and 1948-2011, Rainfall 1869-2011, Humidity 1929-1941 and 1948-2011, Rain days 1891-2011) [1]
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory (sun only, 1982—2008) [2]
ประชากร

ประชากรหนาแน่นที่สุดในภูมิภาค และเป็นประเทศเล็กที่สุดในภูมิภาค เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนประชากรประมาณ 5.08 ล้านคน (2553) ประกอบด้วยชาวจีน (76.5%) ชาวมาเลย์ (13.8%) ชาวอินเดีย (8.1%) และอื่น ๆ (1.6%)

การเมือง

ระบอบการปกครองของสิงคโปร์ คือ ระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายโทนี ตัน เค็ง ยัม เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2544 ส่วนนายกรัฐมนตรีคือ นายลี เซียน ลุง ซึ่งรับตำแหน่งต่อจากนายโก๊ะ จ๊กตง และนายลี กวน ยูซึ่งมีฐานะเป็นบิดาของนาย ลี เซียน ลุง สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียเมื่อปี พ.ศ. 2508 มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขทางพิธีการ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขทางด้านบริหาร สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก เพราะนับแต่ตั้งประเทศเป็นต้นมา มีรัฐบาลที่มาจากพรรคเดียวและเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก และมีการควบคุมสิทธิเสรีภาพของสื่อสารมวลชนและประชาชนในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างค่อนข้างเข้มงวด

 ระบอบการปกครอง

การปกครองระบอบสาธารณรัฐ
-ประธานาธิบดี โทนี ตัน เค็ง ยัม
-นายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ

ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่
-การเพาะปลูก ปลูกยางพารา มะพร้าว ผัก ผลไม้ แต่พื้นที่มีจำกัด
-อาศัยวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน มีอุตสาหกรรมเบา เช่น ผลิตยางพารา ขนมปัง เครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมหนัก เช่น อู่ต่อเรือ ทำเหล็กกล้า ยางรถยนต์ มีกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและเป็นผู้สร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ด้วย
-การค้าขาย เป็นท่าเรือปลอดภาษี ประเทศต่าง ๆ ส่งสินค้าต่าง ๆ มายังสิงคโปร์เพื่อส่งออก และสิงคโปร์ยังรับสินค้าจากยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เพื่อส่งไปขายต่อยังประเทศเพื่อนบ้าน มีท่าเรือน้ำลึก เหมาะในการจอดเรือส่งสินค้า
        สิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากเหมือนประเทศอื่น แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี เพราะสิงคโปร์พัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้า โดยเป็นประเทศพ่อค้าคนกลางในการขายสินค้าเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าปลอดภาษี ทำให้สินค้าที่ผ่านทางสิงคโปร์มีราคาถูก ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และยังได้เข้าไปลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชาและพม่า สิงคโปร์มีประชากรน้อยจึงต้องพึงพาแรงงานจากต่างชาติในทุกระดับ สิงค์โปร์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีฐานะทางเศรษฐกิจและการเงินที่มั่งคั่งที่สุดประเทศนึงในโลก

การคมนาคม

ที่ตั้งของสิงคโปร์เป็นเส้นทางระหว่างทวีปยุโรป และเอเซียตะวันตก กับภาคพื้นตะวันออกไกล รวมทั้งภาคพื้นแปซิฟิค ทำให้สิงคโปร์เป็นชุมทางของเส้นทางเดินเรือ และสายการบินระหว่างประเทศ และเป็นแหล่งชุมนุมการค้าขาย ปัจจุบันสิงคโปร์ มีท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเซีย รองจากโยโกฮามาของญี่ปุ่น และเป็นท่าเรือที่มีการขนส่งสินค้ามาก เป็นอันดับสามของโลก
-การขนส่งทางบก สิงคโปร์มีพื้นที่ไม่มาก ประมาณ 900 ตารางกิโลเมตร แต่ถนนที่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ประมาณ 1,300 กิโลเมตร นอกจากถนนแล้ว ยังมีทางรถไฟอยู่สองสาย มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร ได้มีการสร้างทางรถไฟสายสิงคโปร์ - กรันจิ เมื่อปี พ.ศ. 2446 สมัยรัฐบาล สเตทส์ เซตเติลเมนต์ (Stste Selllement) โดยมีการเดินรถจากสถานีแทงค์โรค ไปยังวู๊ดแลนด์ และมีบริการแพขนานยนต์ ข้ามฟากไปเชื่อมต่อกับทางรถไฟจากแผ่นดินใหญ่ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 การรถไฟแห่งสหพันธ์มลายู ได้รับซื้อกิจการนี้แล้วปรับปรุง ให้เริ่มจากสถานีบูกิตบันยัง ถึงสถานีตันหยงปาการ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 ได้มีการเริ่มสร้างถนนข้ามช่องยะโฮร์ เพื่อให้ทางรถไฟติดต่อถึงกัน ทางรถไฟสายหลัก ข้ามถนนข้ามช่องยะโฮร์มาเลเซีย ตัดกลางประเทศ ลงสู่ใต้ถึงสถานีปลายทาง ที่ใกล้ท่าเรือเคปเปล โดยมีทางแยกเลยเข้าไปในท่าเรือเคปเปลด้วย ทางรถไฟอีกสายหนึ่ง แยกจากสายแรกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ รถไฟสายนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลมาเลเซีย การเดินทางไปในสถานีรถไฟ เพื่อโดยสารถือว่าเป็นการเดินทางผ่านประเทศ ต้องมีการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือเอกสารอย่างอื่นทำนองเดียวกัน
-การขนส่งทางน้ำ มีการขนส่งทางน้ำภายในประเทศ ทางน้ำชายฝั่งและทางน้ำระหว่างประเทศ ทางน้ำภายในประเทศ มีใช้อยู่ในวงจำกัด และไม่ค่อยสะดวก เพราะสิงคโปร์เป็นเกาะเล็ก ๆ และมีแนวชายฝั่งสั้น ภายในเกาะเองก็มีแม่น้ำสายสั้น ๆ และไม่ติดต่อถึงกัน รวมทั้งยังตื้นเขินมาก จึงต้องจำกัดเวลา ในการใช้คือ ในช่วงเวลาน้ำขึ้นเท่านั้น ทางน้ำชายฝั่ง เป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งทางน้ำระหว่างประเทศ แต่มีลักษณะเฉพาะของตนเองคือ ใช้เรือเล็ก ท่าเรือเล็กๆ ที่มีจำนวนมากมาย เส้นทางเดินเรือสั้น การให้บริการไม่เป็นประจำ เรือที่เดินตามบริเวณชายฝั่ง มีหลายบริษัท และมีบริษัทที่ให้บริการเป็นประจำไปยังท่าเรืออินโดนิเซีย มาเลเซียตะวันออก และตะวันตก และไทย ทางน้ำระหว่างประเทศ รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานจดทะเบียนเรือของสิงคโปร์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2509 และได้มีการตราพระราชบัญญัติอนุญาตให้มีการจดทะเบียนเรือ ซึ่งเจ้าของอยู่ในต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยมีความมุ่งหมายจะชักจูงเรือสินค้าต่างชาติ ที่ไปจดทะเบียนเป็นเรือสัญชาติไซบีเรีย และปานามา ให้สนใจโอนสัญชาติเป็นเรือสิงคโปร์ได้ ท่าเรือแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2507 ได้มีการปรัปปรุงท่าเรือสิงคโปร์ ให้สามารถรับเรือคอนเทนเนอร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ และสามารถอำนวยความสะดวก ให้กับเรือบรรทุกน้ำมันขนาดสองแสนตัน หรือมากกว่า ท่าเรือ แต่เดิมใช้ท่าเรือเคปเปล ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสิงคโปร์ และมีเกาะเซนโตซา กับเกาะบรานี เป็นที่กำบังลม ต่อมาบริเวณของการท่าเรือ ได้ขยายออกไปจนเกินอาณาบริเวณ ทั้งพื้นที่บนฝั่ง และในทะเลรวม 538 ตารางกิโลเมตร ท่าเรือสิงคโปร์ มีทั้งท่าเรือน้ำลึกตรงที่ท่าเรือเคปเปล มาจนถึงตันจงปาการ์ ท่าเรือสิงคโปร์เริ่มตั้งแต่ฝั่งตะวันตกของเกาะ เลียมริมฝั่งตะวันตก เรื่อยไปจนถึงฝั่งตะวันออกของเกาะทีซันไจ มาตา อิกาน บีคอน เขตการค้าเสรี ทางการสิงคโปร์ ได้ประกาศเขตการค้าเสรี เมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามบริเวณท่าเรือ ตั้งแต่เตล๊อก อาเยอร์เบซิน จนถึงจาร์ดินสเตปส์ กับจูร่ง ในบริเวณนี้ทางการได้จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ สายการเดินเรือแห่งชาติ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 บริษัทนี้เป็นสมาชิกของชมรมเดินเรือแห่งตะวันออกไกล เมื่อปี พ.ศ. 2512
-การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ เริ่มมีสายการบินทำการค้าสายแรก เมื่อปี พ.ศ. 2473 เป็นของบริษัทดัทช์อิสท์อินเดีย และในปี พ.ศ. 2478 สายการบินแควนตัส ได้เปิดการบินระหว่างสิงคโปร์ กับออสเตรเลีย ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ท่าอากาศยานสากล เดิมอยู่ที่ปายาเลบาร์ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางวิ่งยาวประมาณ 4,000 เมตร สามารถรับเครื่องบินพาณิชย์ได้ทุกขนาดและทุกแบบ ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าอากาศยานนานานชาติ ที่จัดส่งทันสมัยมากคือ ท่าอากาศยานนานาชาติชางงี มีขีดความสามารถในการรับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ และการให้บริการพร้อม ๆ กันถึง 45 เครื่อง มีการสร้างทางวิ่งที่สองบนพื้นที่ ที่ได้จากการถมทะเล สายการบินแห่งชาติ เดิมสิงคโปร์ มีสายการบินร่วมกับมาเลเซียใช้ชื่อว่า มาเลเซีย - สิงคโปร์ แอร์ไลนส์ (Malasia - Singapore Airlines) ต่อมาเมื่อได้แยกประเทศกันแล้ว ก็ได้แยกสายการบินออกจากกันด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2515 สายการบินของสิงคโปร์ใช้ชื่อว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์ (Singapore Airlines SIA)

ประวัติศาสตร์

ช่วงต้น
สิงคโปร์เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ปลายสุดแหลมมาลายู เป็นสถานพักสินค้าของพ่อค้าทั่วโลก เดิมชื่อว่า เทมาเส็ก (ทูมาสิค) มีกษัตริย์ปกครอง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้มีเจ้าผู้ครองนครปาเล็มบังเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือ สิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเทมาเส็กเสียใหม่ว่า สิงหปุระ ต่อมาสิงหปุระก็ได้ตกเป็นของสุลต่านแห่งมะละกา

ยุคการล่าอาณานิคม
ประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ. 1511 แล้วก็ถูกชาวดัตช์มาแย่งไป แต่ประมาณปี ค.ศ. 1817 อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส แสตมฟอร์ด บิงก์เลย์ แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษก็ยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้สำเร็จ
ค.ศ. 1819 เซอร์ แสตมฟอร์ด ราฟเฟิล สำรวจเกาะสิงคโปร์ และก่อตั้งประเทศ


สงครามโลกครั้งที่ 2
ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ และก็สามารถยึดครองสิงคโปร์ไว้ได้ แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง อังกฤษก็ได้ครอบครองสิงคโปร์เหมือนเดิม


การรวมชาติเข้ากับมาเลเซีย 
เมื่อสิงคโปร์เห็นมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิงคโปร์จึงรีบขอรวมชาติเข้ากับมลายูกลายเป็นสหภาพมลายาทันที เพื่อจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีก แต่สิงคโปร์ก็ไม่พอใจกับมาเลเซียมากนักเพราะมีการเหยียดชนชาติกัน ทำให้พรรคกิจประชาชนของสิงคโปร์ประกาศให้สิงคโปร์เป็นเอกราชตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965 ตั้งแต่บัดนั้นมาในชื่อ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อแยกตัวออกมาแล้วพรรคกิจประชาชนก็ครองประเทศมาตลอดจนถึงทุกวันนี้


ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง
-ประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ก่อนศตวรรษที่ 14 มิได้ถูกบันทึกอย่างชัดเจนและแน่นอนนัก ในช่วงศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรมัชฌาปาหิตแห่งชวา ต่อมาในต้นศตวรรษที่ 15 ก็อยู่ภายใต้การยึดครองของอาณาจักรสยาม จนถูกประมุขแห่งมะละกาเข้ามาแย่งชิงไป และเมื่อโปรตุเกสเข้ายึดครองมะละกา สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกสในราวปี ค.ศ. 1498 และต่อมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอลันดาในช่วงศตวรรษที่ 17
-เมื่ออังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมลายูในกลางศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มสนใจสิงคโปร์ ในปี ค.ศ. 1819 อังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิ์ยะโฮร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ในปี 1824 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ต่อมาในปี ค.ศ. 1826 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซ็ตเติลเมนท์ (Straits Settlement) ซึ่งให้บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์ รวมทั้งปีนัง และมะละกาด้วย และต่อมาในปี ค.ศ. 1857 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง ในปี ค.ศ. 1867 สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) ของอังกฤษ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1946 จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศ (Separate Crow colony) เมื่ออังกฤษกลับมาควบคุมสิงคโปร์อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่สิงคโปร์อยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1942-1946)
-ในฐานะที่เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศนั้น สิงคโปร์มีอำนาจปกครองกิจการภายในของตนเองแต่ไม่มีอำนาจดูแลกิจการทหารและการต่างประเทศ และยังมีผู้ว่าราชการจากอังกฤษมาปกครองอยู่ ในสภานิติบัญญัติ (Legislative Council) นั้น อังกฤษเริ่มเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกบางส่วน (6 คน จาก 22 คน) ได้ ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาบางส่วนนี้ในปี 1948 พรรคก้าวหน้า (Progressive Party) ของสิงคโปร์ได้ที่นั่งมากที่สุด ต่อมาในปี ค.ศ. 1951 สมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งถูกเพิ่มเป็น 9 คน ในจำนวน 25 คน และในปี ค.ศ. 1955 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งมีจำนวน 25 คน ในจำนวน 32 คน
-ต่อมาอังกฤษให้ชาวสิงคโปร์มีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้นในช่วง 10 ปี ก่อนที่สิงคโปร์จะประกาศเป็นสาธารณรัฐนั้น สิงคโปร์จึงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล 3 ชุด คือ (1) รัฐบาลของนายเดวิด มาร์แชล (David Marshall) จากปี 1955-1956 (2) รัฐบาลของนายลิม ยิว ฮ๊อค (Lim Yew Hock) จากปี ค.ศ. 1956-1959 และ (3) รัฐบาลของนาย ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) ซึ่งภายใต้รัฐบาลนี้สิงคโปร์มีอำนาจในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์แล้ว และนายลี กวน ยูได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ต่อมาในช่วงปี 1963-1965 รัฐบาลชุดนี้ก็ได้ตัดสินใจเข้าไปรวมอยู่ในสมาพันธรัฐมาเลเซีย และอยู่ได้เพียง 2 ปี
-นับจากปี ค.ศ. 1965 เมืองสิงคโปร์ประกาศตนเป็นประเทศเอกราช มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง โดยปกครองในรูปของสาธารณรัฐ หลังจากนั้นสิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวเป็นเวลาถึง 25 ปี ซึ่งก็คือ นาย ลี กวน ยู ทั้งนี้เป็นเพราะพรรคกิจประชา (PAP: People’ Action Party) ซึ่งนาย ลี เป็นผู้ก่อตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 นั้นมีชัยชนะในการเลือกตั้งเกือบทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งซ่อม
-ทศวรรษ 1990 เป็นจุดเริ่มต้นของกรปรับเปลี่ยนการปกครองสิงคโปร์จากผู้นำกลุ่มเก่า (Old Guards) เป็นผู้นำรุ่นใหม่ (New Guards) นายโก๊ะ จ๊กตง (Goh Chok Tong) ได้รับการคัดเลือกจากพรรคกิจประชาและคณะรัฐมนตรี ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1990 นาย ลี กวน ยู ยังดำรงตำแหน่งอยู่ในรัฐบาลชุดใหม่โดยเป็นรัฐมนตรีอาวุโส และในปี ค.ศ. 1993 สิงคโปร์เริ่มใช้ระบบประธานาธิบดีแบบใหม่ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
-ปัจจุบันปี ค.ศ. 2006 ประเทศสิงคโปร์ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อเลือกผู้นำคนใหม่และทีม เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศต่อไป แต่อย่างไรก็ดี พรรคกิจประชาก็ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นเหมือนอย่างเดิม โดยพรรค PAP ได้รับที่นั่งในฝ่ายรัฐบาล 82 ที่นั่งจาก 84 ที่นั่ง ซึ่งเท่ากับสมัยนายโก๊ะ จ๊กตงได้รับในปี พ.ศ. 2544 แต่ได้คะแนนเสียงลดลงจากสมัยแรกที่ได้ 75.3 เป็น66.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งรัฐบาลนี้ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของนาย ลี เซียน ลุง สมัยที่สองซึ่งรัฐบาลจะมีนโยบายผลักดันในเรื่องปัญหาคนยากไร้ ผู้สูงอายุและคนว่างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่นาย ลี เซียน ลุงจะได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้นั้น เขาได้เน้นโยบายแบ่งปันรายได้ผนวกกับความอ่อนแอและแตกแยกของพรรคฝ่ายค้าน ทำให้พรรค PAP ได้ครองอำนาจสืบทอดมาเป็นระยะเวลา 4 ทศวรรษ


ตราแผ่นดิน

 

ไฟล์:Coat of arms of Singapore (blazon).svg

ตราแผ่นดินของสิงคโปร์-ตราประจำชาติสิงคโปร์เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2502 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502 พร้อมกันกับธงชาติ แล ะเพลงชาติสิงคโปร์ ณ ห้องสาบานตนประธานาธิบดีแห่งสิงค์โปร์ ที่ศาลาว่าการของเมืองสิงคโปร์ซิตี้ ลักษณะของตราแผ่นดิน เป็นรูปสิงโตและเสือถือโล่สีแดงซึ่งมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 5 ดวง และพระจันทร์เสี้ยวสีขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ สำคัญที่ใช้บนธงชาติของสิงคโปร์ เสือเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความผูกพันทางประวัติศาสตร์กับประเทศมาเลเชีย และสิงโตเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงสิงคโปร์ ด้านล่างของตราแผ่นดินเป็นริบบิ้นสีน้ำเงินจารึกคำขัวญประจำชาติด้วยตัวหนังสือที่ทองว่า ข้างใต้มีคำขวัญ "Majulah singapura:" ซึ่งมีความหมายว่า "สิงคโปร์จงเจริญ"

ธงชาติและเพลงชาติ

ไฟล์:Flag of Singapore.svg  

ธงชาติสิงคโปร์- ธงชาติสิงคโปร์ เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีรูปดาวห้าแฉก 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า รูปเหล่านี้เป็นสีขาว ธงนี้เริ่มใช้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ซึ่งเป็นปีที่สิงค์โปร์ได้สิทธิปกครองตนเองจากจักรวรรดิอังกฤษ และถือเป็นธงชาติของรัฐเอกราชเมื่อสิงคโปร์ประกาศเอกราชในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2508

ความหมายสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ ในธง อันได้แก่ สีแดง หมายถึงภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลายและคงอยู่ตลอดกาล รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึงความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น ดาว 5 ดวง หมายถึงอุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค 

 

เพลงชาติสิงคโปร์- เพลงชาติสิงคโปร์ มีชื่อเฉพาะว่า มาจูละห์ ซีงาปูรา (Majulah Singapura) เป็นคำภาษามลายู แปลว่า สิงคโปร์จงรุดหน้า หรือจงเจริญ ชื่อของเพลงนี้มีที่มาจากคำขวัญประจำชาติ ซึ่งเป็นข้อความเดียวกันกับที่ปรากฏอยู่ในตราประจำรัฐ มีเนื้อหาของเพลงที่สะท้อนถึงจิตวิญญาณของชาวสิงคโปร์ในการคาดหวังอย่างอดทนถึงความก้าวหน้าของชาติ และเรียกร้องให้ทุกคนร่วมมือกันทำความหวังดังกล่าวให้เป็นความจริง  เพลงนี้ขับร้องในภาษามลายู ซึ่งเป็นภาษาทางการ 1 ใน 4 ภาษาของประเทศสิงคโปร์ ชาวสิงคโปร์ที่ไม่ใช่คนเชื้อชาติมลายูนั้นสามารถร้องและเข้าใจเนื้อหาของเพลงชาติได้เช่นกัน แต่ต้องอาศัยคำแปลภาษาอังกฤษมาช่วยในการทำความเข้าในใจเพลงนี้

 

ประวัติ
เพลงมาจูละห์ สิงาปูราได้เขียนขึ้นในช่วงการตื่นตัวในเรื่องแนวคิดชาตินิยมของชาวสิงค์โปร์ช่วง พ.ศ. 2499 - 2500 โดยซูบีร์ ซาอิด ได้ประพันธ์เพลงนี้ขึ้นโดยได้รับบันดาลใจจากคำว่า "มาจูละห์ ซีงาปูรา" ซึ่งหมายถึง "สิงค์โปร์จงเจริญ" เพลงนี้ได้บรรเลงครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502 พร้อมกันกับธง และ ตราประจำรัฐ ณ ศาลาว่าการเมืองสิงค์โปร์ซิตี้ ในพิธีแต่งตั้งตั้งประมุขแห่งรัฐคนใหม่ คือ ยังดีเปอร์ตวนเนอการา เอินจิก ยูซุฟ บิน อิสฮาก ต่อมาเมื่อสิงคโปร์ได้รับเอกราชและออกจากสหพันธรัฐมาลายาในปี พ.ศ. 2508 เพลงมาจูละห์ ซีงาปูราก็ได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติของประเทศสิงคโปร์ตราบเท่าทุกวันนี้

 

เนื้อร้อง

 
ภาษามลายู คำแปลภาษาไทย

MAJULAH SINGAPURA

Mari kita rakyat Singapura
Sama-sama menuju bahagia
Cita-cita kita yang mulia
Berjaya Singapura
Marilah kita bersatu
Dengan semangat yang baru
Semua kita berseru
Majulah Singapura
Majulah Singapura

สิงค์โปร์จงเจริญ

มาเถิด เราชาวสิงคโปร์ทั้งหลาย
มาร่วมมุ่งหน้าสู่ความสุขร่วมกัน
ขอความปรารถนาอันทรงเกียรติของเรานั้นจงดล
ให้ประเทศสิงคโปร์ประสบผลสำเร็จ
มาเถิด เรามาสามัคคีกัน
ในจิตวิญญาณดวงใหม่
เราผองจงตะโกนก้องว่า
สิงคโปร์จงเจริญ
สิงคโปร์จงเจริญ

  

อาหารประจำชาติ

 

 

 

ลักสา (Laksa)-เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) มีลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย โดยเส้นก๋วยเตี๋ยวจะมีลักษณะคล้าย vermicelli ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นสปาเกตตีของอิตาลี

 

กีฬาประจำชาติ


กีฬาประจำชาติสิงคโปร์- กีฬาในประเทศสิงคโปร์ ชาวสิงคโปร์เล่นกีฬาฟุตบอล คริกเก็ต แบดมินตัน บาสเก็ตบอล รักบี้ ปิงปอง และวอลเลย์บอล
ปกติแล้วในแถบย่านที่อยู่อาศัยของประชากรจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสันทนาการจัดไว้ให้แล้ว กีฬาทางน้ำ เช่น ดำน้ำ สกีน้ำ เรือคายัก และ ว่ายน้ำ
ยังเป็นที่นิยมกันบนเกาะนี้ สนามกีฬาแห่งชาติของสิงคโปร์เปิดให้บริการเมื่อปี 1973 และถูกใช้เป็นสถานที่แสดงทางวัฒนธรรม การกีฬา และความบันเทิงต่างๆ
และถูกปิดลงในปี 2007 หลังจากศูนย์กลางการกีฬาของสิงคโปร์ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่เดียวกันนั้น โดยได้มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2007 และจะพร้อมใช้ในปี 2011 
ชาวสิงคโปร์สร้างผลงานได้ดีในด้านการกีฬาและสันทนาการจนได้รับชื่อเสียงไปทั่วโลก ด้วยการผสมผสานของวัฒนธรรมและความทันสมัย
สิงคโปร์ได้มอบโครงสร้างทางศิลปะที่ดีที่สุดให้กับประชากรและนักท่องเที่ยว

ประเพณีและวัฒธรรมประจำชาติ

ประเพณีและศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ-สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติหลากหลายศาสนา ทำให้ประเทศนี้มีศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย สำหรับเทศกาลที่สำคัญของสิงคโปร์ก็จะเป็นเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา เช่น

 

File:Chinese New Year market.jpg

 

เทศกาลตรุษจีน-เทศกาลปีใหม่ของชาวจีนที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 


เทศกาล Good Friday
-จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขนของชาวคริตส์ในเดือนเมษายน



 

เทศกาล Hari Raya Puasa-เทศกาลการเฉลิมฉลองของชาวมุสลิม ที่จัดขึ้นเมื่อสิ้นสุดพิธีถือศิลอดหรือรอมฏอนในเดือนตุลาคม

 

เทศกาล Deepavali-ประมาณเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนของทุกๆปีหรือตรงกับช่วงหลังออกพรรษาของบ้านเรา ชาวอินเดียจะมีเทศกาลประจำปีเรียกว่าเทศกาล Diwali (ดีวาลี) หรือ Deepavali (ดีพาวลี) จะเรียกแบบที่หนึ่งหรือที่สองก็ได้ Diwali เป็นภาษาฮินดี ส่วน Deepavali เป็นภาษาสันสกฤต Diwali หรือ Deepavali หมายความว่าแถวแห่งตะเกียง เป็นเทศกาลแห่งแสงและการประดับไฟของชาวฮินดู งานเฉลิมฉลอง Deepavali คือ หนึ่งในงานสำคัญทาง ศาสนาของชาวอินเดีย ที่นับถือศาสนาฮินดูและถือเป็นวันปีใหม่ นอกเหนือวันสำคัญทางศาสนาอื่น เช่น Chinese New Year, Hari Raya Aidil Fitri และ Christmas เป็นต้น ตามประเพณีงานฉลองวันปีใหม่ Dee-pavali ประกอบ 4 ปัจจัยสำคัญของงานครั้งนี้ คือ ตำนาน ประวัติความเป็นมา พิธีเตรียมงานฉลอง สุดท้ายจบลงด้วยการรับประทานอาหาร

เครื่องแต่งกายประจำชาติ

 

 

เครื่องแต่งกายประจำชาติ-สำหรับประเทศสิงคโปร์ชุดประจำชาติจะแตกต่างกันออกไปตามเชื้อชาติของชาวสิงคโปร์ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป

สกุลเงิน





ดอลลาร์ (Dollar)- เป็นสกุลเงินของประเทศสิงคโปร์
* 1 ดอลล่าร์สิงคโปร์ เท่ากับประมาณ 25 บาท 
ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 2 ดอลลาร์, 5 ดอลลาร์ , 10 ดอลลาร์ , 50 ดอลลาร์, 100 ดอลลาร์, 1,000 ดอลลาร์ และ 10,000 ดอลลาร์

 

ดอกไม้ประจำชาติ


ดอก Vanda Miss Joaquim- เป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมาที่สุดในประเทศสิงคโปร์ โดยตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ ด้วยสีม่วงและรูปลักษณ์ที่สวยงาม อีกทั้งบานตลอดปี ทำให้ดอกไม้ชนิดนี้ถูกยกสถานะให้เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่ปี 1981 Vanda Miss Joaquim พบได้ทั่วไปในประเทศสิงคโปร์

  

บุคคลสำคัญ


ไฟล์:Lee Kuan Yew.jpg

 

ลี กวนยู (李光耀; พินอิน: Lǐ Guāngyào, หลี่ กวงเย้า ในภาษาอังกฤษ อ่านว่า "ลี กวนยิว")- คือนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศสิงคโปร์ [1]เขาเป็นผู้เปิดประเทศสิงคโปร์ให้ทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศและอาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์ด้้วย ไปในตัว ด้วยเหตุที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ถึง 31 ปี เขาเป็นคนพาสิงคโปร์สู่ประเทศที่ร่ำรวยโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ ทศวรรษ ต่างกับชาติอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถได้ถึงขนาดนี้ เศรษฐกิจในสมัยท่านของสิงคโปร์ จึงรวดเร็วแบบก้าวกระโดด รวมถึงการศึกษาโดยยึดแบบมาจากชาติยุโรป ทำให้มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์ส่วนใหญ่ติดอันดับต้นๆ ของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของเอเซียและของโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกมากสำหรับประเทศที่เป็นอาณานิคมของชาติยุโรปแล้วจะสามารถเจริญได้มากกว่าชาติไหนๆ ของโลก เขาจึงเป็นรัฐบุรุษคนสำคัญของสิงคโปร์ และเป็นหนึ่งในบุคคลทรงอิทธิพลที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ลี กวนยู ยังมีลูกชายเป็นผู้สืบเจตนารมณ์ ต่อจากท่าน ชื่อว่า ลี เซียนลุง ซึ่งเป็นนายกคนปัจจุบันของสิงคโปร

ไฟล์:StamfordRaffles.jpeg

เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (Sir Thomas Stamford Bingley Raffles -(6 กรกฎาคม พ.ศ. 2324 – 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2369) ผู้บริหารอาณานิคม ผู้ก่อตั้งเมืองสิงคโปร์ เกิดบนเรือที่ลอยทะเลนอกฝั่งพอร์ตมอแรนท์ จาไมก้า แรฟเฟิลส์ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการน้อยมากแต่ก็ได้เข้าทำงานเป็นสมียนของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ หลังจากการศึกษาด้วยตนเอง แรฟเฟิลส์ ก็ได้รับตำแหน่งก้าวหน้าเป็นผู้ช่วยเลขานุการเมืองปีนังได้เลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็วจนถึงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการเขตอาณานิคมชวา (พ.ศ. 2354 - พ.ศ. 2359) และได้ปฏิรูประบบการบริหารใหม่โดยสิ้นเชิง เมื่อปี พ.ศ. 2359 แรฟเฟิลส์ต้องกลับบ้านที่อังกฤษเนื่องจากการป่วยไข้ และได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวินชั้นเซอร์ เมื่อแรฟเฟิลส์หายป่วยและกลับมาดำรงตำแหน่งรองผู่ว่าราชการเขตอาณานิคม "เบงกูลู" (พ.ศ. 2361 - พ.ศ. 2366) ก็ได้จัดตั้งนิคมขึ้นที่เกาะสิงค์โปร์อีก แรฟเฟิลส์จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดผู้หนึ่งในการพัฒนาจักรวรรดิอังกฤษในตะวันออกไกล 

ที่มา :http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศสิงคโปร์,http://aec.ubru.ac.th/index.php/aec-group/msingapore