ประเทศพม่า(Myanmar)

ข้อมูลทั่วไป

ประเทศพม่า                      

            พม่า หรือ เมียนมา (อังกฤษMyanmar,) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (อังกฤษRepublic of the Union of Myanmar ปี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่ายังเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยมีประชากรกว่า 60.28 ล้านคน นับแต่ได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2491 ประเทศพม่าเผชิญกับหนึ่งในสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อที่สุดท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่มากมายซึ่งยังแก้ไม่ตก ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554 ประเทศพม่าอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองถูกยุบอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2554 หลังการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2553 และมีการตั้งรัฐบาลพลเรือนในนามแทน แต่ทหารยังมีอิทธิพลอยู่มาก

            ประเทศพม่าอุดมไปด้วยทรัพยากร แต่เศรษฐกิจพม่าเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจด้อยพัฒนาที่สุดในโลก จีดีพีของพม่าอยู่ที่ 42,953 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.9 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำสุดในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดาและอีกหลายประเทศได้กำหนดการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อพม่า ระบบสาธารณสุขของพม่าเป็นหนึ่งในระบบสาธารณสุขที่เลวที่สุดในโลก องค์การอนามัยโลกจัดอันดับพม่าไว้อันดับที่ 190 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย

             สหประชาชาติและอีกหลายองค์การได้รายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบในพม่า รวมทั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การข่มขืนเป็นระบบ แรงงานเด็ก ทาส การค้ามนุษย์ และการขาดเสรีภาพในการพูด ในช่วงปีหลัง พม่าและผู้นำทหารได้ผ่อนปรนต่อนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตและกำลังพัฒนาความสัมพันธ์อย่างช้า ๆ กับมหาอำนาจและสหประชาชาติ


File:Mandalay, Myanmar.jpg

 

ชื่อเป็นทางการ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ชื่อเมืองหลวง
วันชาติ 4 มกราคม 
วันเข้าร่วมอาเซียน 23 กรกฎาคม 2540
ภาษาประจำชาติ ภาษาพม่า
ภาษาราชการ  

ภาษาพม่า นอกจากภาษาพม่า ซึ่งเป็นภาษาทางการแล้ว พม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษา โดยแบ่งตามตระกูลภาษาได้ดังนี้

ศาสนาประจำชาติ พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517 เพราะมีผู้นับถือศาสนาพุทธ 92.3% ศาสนาคริสต์ 2% ศาสนาอิสลาม 4% ศาสนาฮินดู
สกุลเงิน จ๊าด (Kyat)
ลักษณะภูมิศาสตร์

    

          ประเทศพม่า ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 676,578 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ (หรือคาบสมุทรอินโดจีน) และใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 9° และ 29° เหนือ และลองติจูด 92° และ 102° ตะวันออก

           ประเทศพม่ามีพรมแดนติดต่อกับบังกลาเทศและอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือ พรมแดนทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับทิเบตและมณฑลยูนนานของจีนยาวถึง 2,185 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับลาวและไทย พม่ามีแนวชายฝั่งต่อเนื่องตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทางตะวันตกเฉียงใต้และใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของพรมแดนทั้งหมด

ภูมิประเทศ

     ประเทศไทยแบ่งออกเป็น 6 ภาค ซึ่งแต่ละภาคมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันดังนี้ ภาคเหนือ มีภูเขาสูง โดยจุดสูงสุดคือ ดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงแห้งแล้ง ไม่เอื้อต่อการเพาะปลูก ภาคกลาง เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด ภาคใต้ ติดทะเลสองฝั่ง มีจุดแคบสุดที่คอคอดกระ ภาคตะวันออก มีชายฝั่งทะเลเรียบขาวและโค้งเว้า 
ภาคตะวันตก เป็นหุบเขาและแนวเทือกเขา

         ประเทศสหภาพพม่า (exPNg5k'N06e,oN,kO6b'N'"g9kN-Union of Myanmar)มีพื้นที่ทั้งหมด ๖๗๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร สหภาพพม่าตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์ ณ จุดตัดของเส้นรุ้งที่ ๒๒ องศาเหนือ กับเส้นแวงที่ ๙๘ องศาตะวันออก สหภาพพม่าทางตอนล่างติดกับทะเลอันดามัน (dx»]ux'N]pN-Andaman Sea)และอ่าวเบงกอล (48§]ktx'N]pNgvkN -Bay of Bengal)มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ๕ ประเทศ ได้แก่ ด้านตะวันตกติดกับบังคลาเทศ(48§]ktgmHiaN) และอินเดีย (vbO·bp) ด้านเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศจีน (9U69N) ด้านตะวันออกติดกับประทศลาว(]kv6b) และประเทศไทย(56b'Nt) รวมเส้นเขตแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ๖,๑๒๕ กิโลเมตร กล่าวคือติดกับบังคลาเทศ ๒๔๔ กิโลเมตร ติดกับอินเดีย ๑,๓๗๙ กิโลเมตร ติดกับจีน ๒,๑๘๓ กิโลเมตร ติดกับลาว ๒๐๕ กิโลเมตร และติดกับไทย ๒,๑๑๔ กิโลเมตร (บางข้อมูลว่าราว ๒,๔๐๐ กิโลเมตร) ส่วนที่ติดกับทะเลจากปากแม่น้ำนัตถึงเกาะสองมีระยะทางยาว ๒,๒๒๘ กิโลเมตร ได้แก่ แนวฝั่งยะไข่(Rakhine coast)ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ แนวฝั่งริมพื้นที่ปากน้ำอิรวดี และแนวฝั่งตะนาวศรี(Taninthayi coast)ทางด้านใต้ของประเทศ และหากวัดระยะทางจากเหนือสุดลงใต้สุดจะยาวถึง ๒,๐๕๑ กิโลเมตร และมีระยะกว้างที่สุดถึง ๙๓๖ กิโลเมตร กล่าวกันว่ารูปร่างของประเทศพม่านั้นคล้ายว่าวหางยาว บ้างว่าคล้ายเพชร และบ้างว่าคล้ายกับคนที่หันหน้าไปทางตะวันออก

            สภาพภูมิประเทศของพม่านั้น ส่วนใหญ่เป็นที่สูงและเทือกเขาอยู่โดยรอบคล้ายรูปเกือกม้า กล่าวคือด้านตะวันตกและด้านเหนือเป็นพื้นที่ภูเขา และด้านตะวันออกเป็นที่ราบสูงและภูเขา ส่วนพื้นที่ราบจะอยู่ตอนกลางประเทศ บริเวณลุ่มน้ำ และตลอดแนวชายฝั่งทะเลจากด้านตะวันตกถึงด้านใต้ แนวเทือกเขาในประเทศพม่าจะทอดแนวต่อจากเทือกเขาหิมาลัยในทิศทางจากเหนือลงไปทางใต้เป็น ๓ แนว ได้แก่ ด้านตะวันตกมีเทือกเขานาคะ(Naga Hills)เทือกเขาชิน(Chin Hills)และเทือกเขายะไข่ (Rahkine Yoma)ซึ่งทอดแนวโค้งคล้ายคันศร มีเทือกเขาพะโค(Bago Yoma)อยู่ตอนกลาง และมีที่ราบสูงฉาน(Shan Plateau)สลับแนวเขาอยู่ด้านตะวันออก พื้นที่สูงและภูเขามีความสูงเฉลี่ยราว ๓,๐๐๐ ฟุต โดยมีจุดสูงสุดคือ ยอดเขาคากาโบราซี(-jdk46bik=u-Mt. Hkakaborazi)ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของประเทศ มีความสูงถึง ๑๙,๒๙๖ ฟุต ระหว่างเทือกเขาทั้ง ๓ แนวนั้น จะมีที่ราบลุ่มน้ำของแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลขนานในทิศทางเหนือ-ใต้ ได้แก่ แม่น้ำชิดวิน(Chindwin)แม่น้ำอิรวดี(Irrawaddy)แม่น้ำสะโตง(Sittoung)และสาละวิน(Thanlwin)แม่น้ำสายสำคัญที่สุดคือแม่น้ำอิรวดี มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัยไหลผ่านใจกลางประเทศลงสู่ทะเลอันดามัน มีความยาว ๒,๑๗๐ กิโลเมตร และมีเมืองสำคัญหลายเมืองซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสายนี้ อีกทั้งเป็นที่ตั้งของราชธานีโบราณหลายแห่งของพม่าอีกด้วย อันได้แก่ มัณฑะเล(Mandalay)อังวะ (Ava) อมรปุระ(Amarapura)แปร(Prome)และพุกาม(Pagan)แม่น้ำอิรวดีถือเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญที่สุด สามารถล่องเรือขนส่งสินค้าขึ้นไปได้ไกลถึงเมืองพะมอในรัฐกะฉิ่นตอนล่าง โดยขึ้นล่องได้ถึง ๑,๔๕๐ กิโลเมตร แม่น้ำอิรวดีตอนล่างเป็นพื้นที่ราบกว้างใหญ่ประกอบเป็นมณฑลเอยาวดี กินพื้นที่ราว ๒๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร โดยแตกย่อยเป็นสายน้ำ ๘ สายไหลลงสู่ทะเลอันดามัน บริเวณนี้ถือเป็นอู่ข้าว(rice bowl)ของประเทศพม่า เพราะมีดินที่อุดมสมบูรณ์อันเกิดจากน้ำท่วมและการทับถมของแร่ธาตุที่ถูกสายน้ำพัดพามา ส่วนแม่น้ำสายยาวที่สุดคือแม่น้ำสาละวิน มีความยาวถึง ๒,๘๑๕ กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้ไหลจากภูเขาหิมาลัยผ่านที่ราบสูงฉานแล้วลงสู่ทะเลอันดามันที่อ่าวเมาตะมะ(Gulf of Martaban)ในรัฐมอญ แม่น้ำทั้งหลายนั้นต่างเป็นสายน้ำสำคัญที่ก่อให้เกิดพื้นที่ราบลุ่มน้ำอันอุดมสมบูรณ์ของประเทศพม่า

แผนที่  
ลักษณะภูมิอากาศ             

            สหภาพพม่าตั้งอยู่ในเขตมรสุมเมืองร้อน (tropical monsoon)จำแนกฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งอาจอุณหภูมิสูงถึง ๔๓ องศาเซลเซียส ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จะพัดเข้าสู่ประเทศทำให้ฝนตกเกือบทุกวัน พื้นที่ฝนชุกที่สุดจะได้แก่พื้นที่ชายฝั่งทะเล อันได้แก่ รัฐยะไข่ มณฑลเอยาวดี มณฑลพะโค และมณฑลตะนาวศรี ได้รับปริมาณน้ำฝนถึง ๑๒๐–๒๐๐ นิ้วต่อปี ในเขตพื้นที่ราบอื่นๆจะมีฝนตกเฉลี่ย ๑๐๐ นิ้วต่อปี ทางตอนกลางของประเทศซึ่งถูกกำบังด้วยแนวเขายะไข่ด้านตะวันตกจะมีฝนตกน้อยเพียง ๒๐–๔๐ นิ้วต่อปีเท่านั้น หรือเฉลี่ยราว ๒๙ นิ้วต่อปี ส่วนฤดูหนาวนั้นอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย ๒๑–๒๙ องศาเซลเซียส สภาพอากาศของประเทศพม่ายังแตกต่างตามความสูงต่ำของพื้นที่อีกด้วย กล่าวคือในพื้นที่สูงจะหนาวเย็นยิ่งขึ้น และยอดเขาทางตอนบนสุดของประเทศอาจมีหิมะตกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศต่ำสุดราวศูนย์องศาเซลเซียสทางตอนบน และสูงสุด ๔๕ องศาเซลเซียสทางตอนกลางของประเทศ

             พื้นที่ตอนกลางของประเทศพม่าจะมีสภาพอากาศแห้งแล้งกว่าที่อื่น ตอนบนจะอุดมไปด้วยป่าไม้ และมีฝนตกชุกมากในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตอนล่าง พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ของพม่าจะอยู่ ณ บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำอิรวดี สะโตง และสาละวิน ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญต่อการปลูกข้าวและผลไม้เมืองร้อน

 
ประชากร

             จำนวนประชากรประมาณ 50.51 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 61 คน/ตารางกิโลเมตร พม่ามีประชากรหลายเชื้อชาติ จึงเกิดเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อย มีชาติพันธุ์พม่า 63% ไทยใหญ่ 16% มอญ 5% ยะไข่ 5% กะเหรี่ยง 3.5% คะฉิ่น 3% ไทย 3% ชิน 1%

 ลำดับของเมืองเรียงตามจำนวนประชากร

เมืองในพม่า
อันดับ เมือง สถิติ ที่ตั้ง
ปี พ.ศ. 2526 ปี พ.ศ. 2549
1. ย่างกุ้ง 2.513.023 4.572.948 ย่างกุ้ง
2. มัณฑะเลย์ (เมือง) 532.949 1.237.028 มัณฑะเลย์
3. มะละแหม่ง 219.961 451.011 มอญ
4. พะโค 150.528 248.899 พะโค
5. พะสิม 144.096 241.624 อิรวดี
6. โมนยวา 106.843 185.783 สะกาย
7. เมกติลา 96.492 181.744 มัณฑะเลย์
8. ซิตตเว 107.621 181.172 ยะไข่
9. มะริด 88.600 177.961 ตะนาวศรี
10. ตองยี 108.231 162.396 ฉาน
11. มินยัน 77.060 145.150 มัณฑะเลย์
12. ทวาย 69.882 140.475 ตะนาวศรี
ระบอบการปกครอง             ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเรียกรวมกันว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐธรรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นฉบับที่ 18 อันกำหนดรูปแบบองค์กรบริหารอำนาจทั้งสามส่วนดังนี้
  • อำนาจนิติบัญญัติ มีรัฐสภาในระบบสองสภา อันประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา มีสมาชิกรวมกันทั้งสิ้น 630 คน เป็นองค์กรบริหารอำนาจ มีประธานรัฐสภาเป็นประมุขแห่งอำนาจ
    • สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวน 375 คน และมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน 125 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
    • วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน (รวมกรุงเทพมหานคร) และมาจากการสรรหา 73 คน โดยมีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา 7 คนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี และไม่สามารถเป็นสมาชิกวุฒิสภาติดต่อกันเกิน 1 วาระ  อำนาจบริหาร มีนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ตามคำกราบบังคมทูลของประธานรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี เป็นองค์กรบริหารอำนาจ นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งอำนาจ
    •            นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ตามสภาผู้แทนราษฎร และไม่สามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้เกิน 8 ปี นายกรัฐมนตรีมิได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่ได้รับการลงมติเห็นชอบโดยสภาผู้แทนราษฎร
    •            คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน
  •            อำนาจตุลาการ มีระบบศาล ซึ่งประกอบด้วยศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง เป็นองค์กรบริหารอำนาจ มีประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประมุขในส่วนของตน
การแบ่งเขตการปกครอง ประเทศพม่าแบ่งเป็น 7 เขต (divisions) และ 7 รัฐ (states) ได้แก่
เขต Tain.png
ชื่อเมืองเอกพื้นที่ (km²)ประชากร
1. เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) ทวาย 43,328 1,327,400
2. เขตพะโค (Bago) พะโค 39,404 5,014,000
3. เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) มัณฑะเลย์ 37,023 6,442,000
4. เขตมาเกว (Magway) มาเกว 44,819 4,464,000
5. เขตย่างกุ้ง (Yangon) ย่างกุ้ง 10,170 5,420,000 (2542)
6. เขตสะกาย (Sagaing) สะกาย 93,527 5,300,000 (2539)
7. เขตอิรวดี (Ayeyarwady) พะสิม 35,138 6,663,000
รัฐ Pyinè.png
ชื่อเมืองเอกพื้นที่ (km²)ประชากร
1. รัฐกะฉิ่น (Kachin) มิตจีนา 89,041 1,200,000
2. รัฐกะยา (Kayah) หลอยก่อ 11,670 259,000
3. รัฐกะเหรี่ยง (Kayin) ปะอาน 30,383 1,431,377
4. รัฐฉาน หรือรัฐไทใหญ่ (Shan) ตองยี 155,800 4,702,000 (2542)
5. รัฐชิน (Chin) ฮะคา 36,018 538,000 (2548)
6. รัฐมอญ (Mon) มะละแหม่ง 12,155 2,466,000
7. รัฐยะไข่ (Rakhine) ซิตตเว 36,780 2,698,000
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ          เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีแม่น้ำสะโตงแม่น้ำทวาย-มะริด ปลูกข้าวเจ้าปอกระเจาอ้อยและพืชเมืองร้อนอื่น ๆ ส่วนเขตฉาน อยู่ติดแม่น้ำโขงปลูกพืชผักจำนวนมาก ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่หินสังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชรและหยกจำนวนมาก การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง และ มะริด และทวาย เป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ของพม่า
การคมนาคม    

     

         การขนส่งทางบก ได้แก่ ทางถนนและทางรถไฟ ทางถนน ถนนในพม่าส่วนใหญ่ขนานไปกับภูเขาและแม่น้ำ ทอดไปตามความยาวของประเทศ เช่นเดียวกับทางรถไฟ ถนนสายต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้ ถนนสายพม่า เป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งกับเมืองคุนหมิง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีความยาวในเขตพม่าถึงเมืองหมูแจ้ ประมาณ 1,160 กิโลเมตร และมีความยาวในเขตจีนจากหมูแจ้ถึงคุนหมิง ประมาณ 90 กิโลเมตร ถนนสายนี้ผ่านเมืองต่าง ๆ คือ พะโค-ตองอู-ปินมานา-เมกติลา-มัณฑะเลย์-เมเบียงกอดเต็ก-สีป๊อ-ล่าเสี้ยว-แสนหวี-หมูแจ้ รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 2,140 กิโลเมตร ใช้การทุกฤดูกาล ทางรถไฟ ทางรถไฟของพม่าได้เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481        การขนส่งทางน้ำ การคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในประเทศ นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศพม่าเป็นอย่างมาก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลักมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำอิรวดีมีทางน้ำอยู่มากมาย และเป็นเขตที่มีประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ประกอบกับเส้นทางถนนและทางรถไฟยังมีจำกัด

ตราแผ่นดิน

File:State seal of Myanmar.svg

ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า

 

            เป็นเครื่องหมายราชการของรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ใช้ประทับในเอกสารของทางราชการทุกชนิด รวมถึงการตีพิมพ์ในเอกสารสำหรับเผยแพร่แบบตราดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้เป็นลักษณะตามที่ปรากฏในหมวดที่ ของรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ซึ่งได้รับการรับรองด้วยการลงประชามติในปี พ.ศ. 2551 

 

             ลักษณะของดวงตราประกอบด้วยรูปสิงห์แบบศิลปะพม่า จำนวน ตน อยู่ในท่านั่งรักษาการณ์ หันหลังให้ ซึ่งกันและกัน ที่กลางตรานั้นมีภาพของแผนที่ประเทศพม่ารองรับด้วยช่อใบมะกอกคู่ ล้อมรอบด้วยลวดลายบุปผชาติตามแบบศิลปะพม่า ที่บนสุดของดวงตราเป็นรูปดาวห้าแฉกดวงหนึ่ง รูปรองรับด้วยม้วนแพรแถบจารึกนามเต็มของประเทศ ด้วยใจความ "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า" นับตั้งแต่สมัยราชาธิปไตยเป็นต้นมา พม่าได้ใช้รูปนกยูงรำแพนเป็นเครื่องหมายประจำแผ่นดินมาโดยตลอด ดังปรากฏในเงินเหรียญรูปีของพม่าและธงของพม่าในสมัยต่างๆ ทั้งในสมัยเป็นเอกราชในยุคราชวงศ์อลองพญา สมัยภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร และธงของรัฐบาลพม่าภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่น

 

             ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ หลังได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2491 ประเทศพม่าได้ใช้รูปตราแผ่นดินอันมีลักษณะคล้ายกับดวงตราที่ปรากฏในปัจจุบัน สำหรับรายละเอียดที่แตกต่างกันประกอบด้วย แพรแถบชื่อประเทศจารึกข้อความว่า "สหภาพพม่า" ตำแหน่งบนสุดของดวงตรานั้นมีรูปสิงห์นั่งหน้าตรงอยู่แทนที่รูปดาว ภาพแผนที่ประเทศพม่ากลางดวงตรานั้นบรรจุอยู่ในวงกลมอีกชั้นหนึ่ง ที่ขอบวงกลมนั้นจารึกคาถาพุทธภาษิตเป็นภาษาบาลี ซึ่งยกมาจากธัมมปทัฏฐกถาพุทธวัคควัณณนา คาถาที่ 194 ความว่า "สมคฺคานํ ตโป สุโข" อันหมายถึง "ความเพียรของชนผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นเหตุนำสุขมา" 

 

             ในสมัยการปกครองแบบสังคมนิยมของนายพลเน วิน รัฐธรรมนูญของพม่าฉบับ ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) ได้บัญญัติภาพตราแผ่นดินใหม่ให้มีลักษณะในเชิงสังคมนิยมมากขึ้นโดยมีการแก้รูปแผนที่ประเทศพม่าให้ซ้อนทับบนรูปล้อเฟืองล้อมรอบด้วยช่อรวงข้าวคู่ และเปลี่ยนรูปสิงห์นั่งที่อยู่บนสุดให้เป็นรูปดาวห้าแฉกส่วนนามประเทศในแพรแถบล่างสุดได้เปลี่ยนเป็นข้อความ "สาธารณรัฐสังคมนิยมพม่า"ข้อความดังกล่าวนี้เมื่อคณะทหารได้ทำรัฐประหารและตั้งสภาฟื้นฟูกฎหมาย

 

และระเบียบแห่งรัฐขึ้นในปี พ.ศ. 2531 ข้อความ ซึ่งหมายถึง "สาธารณรัฐสังคมนิยม" จึงได้ถูกลบออกไป

ธงชาติและเพลงชาติ



อาหารประจำชาติ

 

  

         หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า โดยการนำใบชาหมักมาทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เรียกได้ว่า มีลักษณะคล้ายคลึงกับเมี่ยงคำของประเทศไทย ซึ่งหล่าเพ็ดนี้ จะเป็นเมนูอาหารที่ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญ ๆ ของประเทศพม่า โดยกล่าวกันว่า หากงานเลี้ยง หรืองานเฉลิมฉลองใด ไม่มีหล่าเพ็ด จะถือว่าการนั้นเป็นงานที่ขาดความสมบูรณ์ไปเลยทีเดีย

  

กีฬาประจำชาติ


         ชินลง
 เป็นกีฬาที่เล่นเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่กีฬาที่เล่นเพื่อเอาการแข่งขันการเอาชนะกัน ชินลงเล่นคล้ายตะกร้อ แต่เล่นเป็นวงกลม เล่นกันเป็นทีม ทีมหนึ่งมี6คน โดยจะมีผู้เล่นคนหนึ่งอยู่ตรงกลางของวง จะเล่นท่าที่สวยงาม เหมือนกับว่าเป็นการโชว์ลีลา เทคนิค ความสามารถของทีมนั้นๆ และเพื่อนๆอีก5คนที่ล้อมอยู่จะเป็นคนที่ค่อยช่วย คอยสนับสนุนคนกลาง และถ้าคนตรงกลางเหนื่อย สามารถเปลี่ยนตัวกับคนอื่นได้ ท่าของชินลงนั้นมีมากกว่า 200 ท่า


ประเพณีและวัฒธรรมประจำชาติ

 


เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจีน อินเดีย และไทยมานาน จึงมีการผสานวัฒนธรรมเหล่านี้เข้ากับวัฒนธรรมของตนจนเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา จึงเกิดประเพณีสำคัญ เช่น

          ประเพณีปอยส่างลอง (Poy Sang Long) หรืองานบวชลูกแก้ว

          เป็นงานบวชเณรที่สืบทอดกันมานาน และชาวเมียนมาร์ให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ของครอบครัว


 งานไหว้พุทธเจดีย์ประจำปี

         ซึ่งแต่ละที่มักนิยมจัดในเดือนหลังออกพรรษา ถือเป็นงานเฉลิมฉลองที่สนุกสนานและได้ทำบุญสร้างกุศลด้วย 

เครื่องแต่งกายประจำชาติ

 
  
ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี (Longyi) เป็นผ้าโสร่งที่นุ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในวาระพิเศษต่าง ๆ ผู้ชายจะใส่เสื้อเชิ้ตคอปกจีนแมนดารินและเสื้อคลุมไม่มีปก บางครั้งจะใส่ผ้าโพกศีรษะที่เรียกว่า กอง บอง (Guang Baung) ด้วย ส่วนผู้หญิงพม่าจะใส่เสื้อติดกระดุมหน้าเรียกว่า ยินซี (Yinzi) หรือเสื้อติดกระดุมข้างเรียกว่า ยินบอน (Yinbon) และใส่ผ้าคลุมไหล่ทับ

สกุลเงิน

  

 

 


จ๊าด (Kyat) เป็นสกุลเงินของประเทศพม่า 26 จ๊าดเท่ากับประมาณ 1 บาทไทย  
The Myanmar Kyat (MMK) is the official currency of Myanmar. 
26.0460 Myanmar Kyat = 1 Thai baht

ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 50 ปยา, 1 จ๊าด, 5 จ๊าด, 20 จ๊าด, 50 จ๊าด,100 จ๊าด, 200 จ๊าด, 500 จ๊าด, 1,000 จ๊าด , 5,000 จ๊าด และ 10,000 จ๊าด

 

   

ดอกไม้ประจำชาติ

 

 

ดอกไม้ประจำชาติของประเทศพม่า คือ ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่าเลยล่ะ

  

บุคคลสำคัญ

 

นายพล ออง ซาน (Aung San) หรือ อู อองซาน (U Aung San)

           เป็นนักปฏิวัติและผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของพม่า โดยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์



ออง ซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi)

 

          บุตรสาวของนายพล ออง ซาน เป็นผู้นำการต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร และได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ใน พ.ศ.2534

 

ที่มา :http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศพม่า,http://aec.ubru.ac.th/index.php/aec-group/mmyanmar