ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

ข้อมูลทั่วไป

 ประเทศมาเลเซีย

      มาเลเซีย (มาเลย์Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตันเประปะลิส และเกดะห์ และติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ ส่วนที่ 2 คือ มาเลเซียตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียทุกส่วนของมาเลเซียตะวันตก แต่ล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวักเพียงรัฐเดียว มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน

     ชื่อของประเทศมาเลเซียถูกตั้งขึ้นเมือ พ.ศ. 2506 โดยมีความหมายรวมเอาสหพันธรัฐมาลายาสิงค์โปร์ซาบาห์ซาราวักและบรูไนเข้าด้วยกัน คำว่า มาเลเซียนี้เดิมเคยถูกใช้เป็นชื่อเรียกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะมาก่อน ซึ่งปรากฏหลังฐานจากแผนที่ที่ตีพิมพ์ในชิคาโกเมื่อปีพ.ศ. 2457 ในการตั้งชื่อประเทศมาเลเซียนั้นมีการนำเสนอชื่ออื่นๆ มากมายก่อนที่จะได้ผลสรุปให้ใช้ชื่อมาเลเซีย

      ปรากฏความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นระหว่างหลายชนเผ่าพันธุ์และหลายวัฒนธรรมของประเทศ นอกจากชาวมาเลย์และกลุ่มชนพื้นเมืองแล้ว ยังมีผู้อพยพมาจากจีน อินเดีย อินโดนีเซียและส่วนอื่นของโลก ซึ่งรวมเข้าเป็นพลเมืองของมาเลเซีย มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างน่าสนใจ อาจเนื่องมาจากการติดต่อสัมพันธ์นานปี กับภายนอกและการปกครองโดย ชาวโปรตุเกส ดัตช์ และ อังกฤษ ผลที่เกิดตามมาคือการวิวัฒน์ของประเทศจนเปลี่ยนรูปของวัฒนธรรมดังจะได้เห็น การผสมผสานได้อย่างวิเศษของ ศาสนา กิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีการแต่งกาย ภาษาและอาหาร ประเทศมาเลเซียได้รับเอกราชคืนจากอังกฤษมาเมื่อวันที่ 32 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1957เป็นสหพันธ์มาเลเซีย ต่อมาเมื่อรวมรัฐซาบาห์ และ รัฐซาราวัดเข้าด้วยแล้ว ประเทศมาเลเซียจึงได้ถือกำเนิดขึ้


File:KL Sentral at Night.jpg

File:Ipoh 62.jpg

ชื่อเป็นทางการ มาเลเซีย (Malaysia)
ชื่อเมืองหลวง กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
วันชาติ 31 สิงหาคม 
วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510 
ภาษาราชการ ภาษามาเลย์ (Bahasa Malaysia) นอกจากนี้มีการใช้ภาษาอังกฤษ จีน และทมิฬ
ศาสนาประจำชาติ อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ (ร้อยละ 19.2) คริสต์ (ร้อยละ 11.6)
ฮินดู (ร้อยละ 6.3) อื่น ๆ (ร้อยละ 2.5)
สกุลเงิน ริงกิตมาเลเซีย (ประมาณ 3.20 ริงกิต /1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 10.42 บาท/1 ริงกิต)
ลักษณะภูมิศาสตร์

   

      มาเลเซียตะวันตก มีภูเขาทอดยาวทางตอนกลางเกือบตลอด เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ทำให้มีที่ราบ 2 ด้าน ที่ราบด้านตะวันตกกว้างกว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เขตปลูกยางพารา และขุดแร่ดีบุก

      มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล

ภูมิประเทศ

     
            มาเลเซียตะวันตก  ตั้งอยู่บนแหลมมลายู ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และหนองบึง ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่
                บริเวณชายฝั่งตะวันตก ที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ชายฝั่งเต็มไปด้วยหนองบึง และป่าไม้โกงกาง ผิวดินเป็นดินเหนียว และโคลนตม คงมีเหลือพื้นที่ราบซึ่งเป็นดินทรายบางบริเวณ พื้นดินตอนในห่างจากบริเวณที่ราบชายฝั่งสองด้าน ค่อย ๆ เปลี่ยนระดับเป็นที่ราบสูง บริเวณเชิงเขา พื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินแดง และดินปนทราย ดินเหนียวและดินลูกรัง
            มาเลเซียตะวันออก  ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ
           ที่ราบชายฝั่ง และริมทะเลมีหนองบึง และป่าโกงกาง ที่เชิงเขา และทิวเขาสูงมีความสูงชัน มีเหวลึกปกคลุมด้วยป่าทึบยากแก่การสัญจร มียอดเขาสูงสุดอยู่ทางภาคเหนือ มีลักษณะผิวดินแตกต่างกันออกไป บริเวณพื้นที่รอบชายฝั่งส่วนใหญ่เป็นประเภทดินเหนียว และดินโคลนตม ซึ่งมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ในบริเวณบางแห่งมีกรวดทรายปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก
            เทือกเขา  เทือกเขาสำคัญของมาเลเซียประกอบด้วยเทือกเขาบินดัง เทือกเขาโกฮิมหรือเทือกเขากลาง เทือกเขาตรังกานู ในแหลมมลายู และเทือกเขากินาบาลู ในเกาะบอร์เนียว ซึ่งมียอดเขาโกตาคินาบาลูเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในมาเลเซีย
            แหล่งน้ำ  ในแหลมมลายูมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำคาดาห์ แม่น้ำซุนดา แม่น้ำเกรียน แม่น้ำเปรัค แม่น้ำปาหัง แม่น้ำกลันตัน แม่น้ำมุดา แม่น้ำเบอร์นัม แม่น้ำสลังงอร์และแม่น้ำกลัง
            ในเกาะบอร์เนียวมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำรายัง มีความยาวประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร  แม่น้ำมาลุย ยาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำกินาบาดางัน
           ชายฝั่งทะเล ในแหลมมลายูฝั่งทะเลด้านตะวันออกติดต่อกับทะเลจีนใต้ ลักษณะท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยปะการัง และหินใต้ทะเลน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่าง ๆ ฝั่งทะเลมีความยาวประมาณ ๑,๙๐๐ กิโลเมตร  บริเวณชายฝั่งมีความลึกตั้งแต่ ๑๒๐ - ๓๐๐ ฟุต เป็นหาดทรายยาวเหยียดติดต่อกัน มีที่ราบลุ่มอยู่เป็นบางตอน ฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นหาดเลน พื้นที่ลึกเข้าไปในบริเวณชายฝั่งเป็นที่ลุ่ม และหนองบึง และป่าไม้โกงกาง คงมีเฉพาะบางแห่งเท่านั้นที่มีหาดทราย
          ในเกาะบอร์เนียว ฝั่งทะเลบริเวณใต้สุดของทะเลจีนใต้ ท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวมีความลึกพอสมควร มีกลุ่มหินปะการังอยู่เป็นหย่อม ๆ ในระยะลึก นอกจากนั้นยังมีหินใต้น้ำอยู่เป็นบางตอนในบริเวณใกล้ชายฝั่ง เป็นอุปสรรคในการเดินเรือใกล้ฝั่ง บริเวณฝั่งทะเลรัฐซาราวัคมีความลึกใกล้ฝั่งประมาณ ๒๐ - ๓๐ ฟุต  ห่างออกไปจากฝั่ง บางพื้นที่ลึกมาก บางแห่งลึกประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ ฟุต
            บริเวณชายฝั่งของรัฐซาบาห์ ทิศเหนือติดต่อกับทะเลจีนใต้ ความลึกของทะเลมีมากกว่ารัฐซาราวัค

แผนที่
ลักษณะภูมิอากาศ ประเทศมาเลเซียมีลักษณะภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ของประเทศไทย แต่ เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นสูตรและได้รับอิทริผลจากลมมรสุมจากมหวสมุทรอินเดียและ ทะเลจีนใต้จึงมีผลทำให้อุณภูมิไม่สูงนัก มีฝนตกเกือบตลอดปี และมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าประเทศไทย ไม่มีฤดูแล้งชัดเจน ทำให้ประเทศมาเลเซียมีปาไม้ อุดมสมบูรณ์  
ประชากร จำนวน 26.24 ล้านคน (ปี 2549)
ระบอบการปกครอง มาเลเซียปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ การปกครองเป็นแบบสหพันธรัฐ มีรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐ และรัฐบาลของแต่ละรัฐ โดยรัฐบาลกลางตั้งอยู่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย ส่วนรัฐบาลแห่งรัฐตั้งอยู่ในแต่ละรัฐ รวมทั้งสิ้น ๑๓ รัฐ โดยมีประมุขของรัฐเป็นสุลต่านหรือผู้ว่าการรัฐดังนี้

                รัฐที่มีสุลต่านเป็นประมุข จำนวน ๙ รัฐ ได้แก่ เปรัค ปาหัง เซลัง-งอร์ เปอร์ลิส     เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน และตรังกานู

                รัฐที่มีผู้ว่าการรัฐเป็นประมุข จำนวน ๔ รัฐ ได้แก่ ปีนัง มะละกา ซาราวัค และ     ซาบาห์

                นอกจากนี้ยังมีเขตสหพันธรัฐ (Federal Territory) อีก ๒ เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ และเกาะลาบวน (อยู่ทางมาเลเซียตะวันออกใกล้กับ บรูไน ดารุสซาลาม)

การแบ่งเขตการปกครอง      

มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ (states - negeri-negeri) และ 3 ดินแดนสหพันธ์* (federal territories - wilayah-wilayah persekutuan) เป็นดินแดนที่รัฐบาลกลางปกครอง เขตการปกครองต่าง ๆ และชื่อเมืองหลวง (ในวงเล็บ) ได้แก่

มาเลเซียตะวันตก (คาบสมุทรมลายู)


มาเลเซียตะวันออก (เกาะบอร์เนียวตอนเหนือ)

ซาบาห์ (โกตากินะบะลู)

ซาราวัก (กูจิง)

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ

กษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน

การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ

การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย

อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)

   

การคมนาคม 

ทางรถไฟ 

          การเดินทางจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนี่งในกรุงกัวลาลัมเปอร์อาจเป็นเรื่องยุ่งยากเนื่องจากการจราจรที่พลุกพล่าน ทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเลี่ยงการจราจรที่ติดขัดคือการใช้บริการรถไฟขนาดเบาของเมือง กัวลาลัมเปอร์มีระบบรถไฟใต้ดินสี่สาย - KL Monorail เป็นสายที่เชื่อมเขตสำคัญหลักอันเป็นแหล่งที่ตั้งของธนาคาร สำนักงาน โรงแรมและศูนย์การค้าต่างๆ STAR เป็นสายที่มีความยาว 27 กิโลเมตรจากเหนือถึงใต้และอีกสายวิ่งไปทางตะวันออก และ PUTRA ที่เชื่อมเขตตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองกับเขตตะวันตก
              รถไฟ KTM (Keretapi Tanah Melayu) เชื่อมเมืองสำคัญในคาบสมุทรมาเลเซียและจุดหมายปลายทางในประเทศไทยและสิงคโปร์ มีบริการรถไฟสายด่วนขึ้นเหนือ Express Langkawi ออกเดินทางทุกคืนจากกัวลาลัมเปอร์ไปยังเมืองอารอในรัฐเกดะห์ ถึงจุดหมายปลายทางในตอนเช้าหลังจากนั้นจึงวิ่งต่อไปยังอำเภอหาดใหญ่ในประเทศไทย นี่คือทางเลือกการเดินทางที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาที่ชื่นชอบการช็อปปิ้งในวันหยุดสุดสัปดาห์ในราคาที่ไม่แพง

ทางถนน
            รถโดยสารประจำทางเป็นวิธีการเดินทางที่ไม่แพงในประเทศมาเลเซีย บริการรถประจำทางจะวิ่งตามเส้นทางและคิดค่าโดยสารตามระยะทางที่ใช้บริการ ช่วงเวลาการรอรถค่อนข้างไม่แน่นอนและมักจะมาไม่ตรงเวลา อย่างไรก็ตามบริการรถประจำทาง Putra จะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า
        โดยปกติแท๊กซี่ในเมืองใหญ่จะมีการติดตั้งมิเตอร์ โดยมีอัตราค่าบริการ 2 กิโลเมตรแรกที่ 2 ริงกิตและ 10 เซ็นต์สำหรับทุกๆ 200 เมตรหลังจากนั้น สำหรับผู้ที่ต้องการสำรวจสถานที่แห่งอื่นของมาเลเซียในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ การใช้บริการรถโดยสารเป็นอีกทางเลือกที่สะดวกง่ายดาย ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 35 ริงกิต จึงเป็นเรื่องง่ายและประหยัดสำหรับนักศึกษาที่จะเดินทางไปเยี่ยมชมรัฐอื่น เพื่อลิ้มลองรสชาติอาหารท้องถิ่นหรือเดินทางไปตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ

ทางอากาศ 
       มีสายการบินมากกว่า 40 สายการบิน ที่มีเที่ยวบินมายังประเทศมาเลเซีย ทุกเที่ยวบินทั้งขาเข้าและออกจะมาที่สนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KLIA) อันทันสมัยซึ่งอยู่ที่เมืองเซปัง ห่างจากเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์ไปทางใต้ 50 กิโลเมตรหรือหนึ่งชั่วโมงโดยรถยนต์
            จากสนามบินกัวลาลัมเปอร์ จะมีเที่ยวบินไปยังเมืองสำคัญและเมืองต่างๆส่วนใหญ่ นักศึกษาสามารถเลือกสายการบินที่ต้องการหรือแม้แต่สายการบินราคาประหยัดที่ได้รับความนิยมอย่าง AirAsia และ Firefly หากจองล่วงหน้า สายการบินราคาประหยัดเหล่านี้จะมีราคาตั๋วที่ถูกมาก

ทางทะเล
     มีท่าเรือมากมายในประเทศมาเลเซีย อาทิเช่น ท่าเรือปีนัง ท่าเรือกลัง กวนตัน กูชิงและโกตาคินาบาลู มีบริการเรือข้ามชายฝั่งวิ่งระหว่างเกาะปีนังและบัตเตอร์เวิร์ธ โดยรับส่งทั้งผู้โดยสารรวมถึงยานพาหนะจากแผ่นดินใหญ่ไปยังเกาะ นอกจากนี้ยังมีบริการเรือข้ามฟากอีกมากมายสำหรับการเดินทางจากแผ่นดินใหญ่สู่เกาะและเกาะสู่เกาะอยู่ทั่วประเทศ
         เรือเร็วและเรือแม่น้ำขนาดเล็กเป็นวิธีการเดินทางที่ได้รับความนิยมสำหรับการเดินทางในแคว้นซาบาห์และซาราวัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปยังพื้นที่ห่างไกล นอกจากนี้ยังมีเรือท่องเที่ยวทางทะเลและเรือท่องเที่ยวทางแม่น้ำให้บริการโดยบริษัททัวร์ในท้องถิ่น สำหรับการเดินทางทางทะเลภายในประเทศก็มีให้บริการจากท่าเรือกลัง (สลังงอร์) ไปยังกวนตัน (ปาหัง) และไปยังซาบาห์หรือซาราวัก นอกจากนี้ยังมีเรือท่องเที่ยววันหยุดที่รับส่งผู้โดยสารไปยังประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย

ตราแผ่นดิน

 

ไฟล์:Coat of arms of Malaysia.png
             ตราแผ่นดินของมาเลเซีย (มาเลย์Jata Negaraประกอบด้วยส่วนหลักๆห้าส่วนคือ โล่ เสือโคร่งสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลือง และดาวสีเหลือง 14 แฉก และแถบผ้า ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมาลายาระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ตราในปัจจุบันจึงมีอิทธิพลของตราแบบตะวันตกอยู่มาก

ธงชาติและเพลงชาติ

 

              นการากู (โรมัน: Negaraku, ยาวี: نڬاراكو, แปลว่า "แผ่นดินของข้า") เป็นเพลงชาติของสหพันธรัฐมาเลเซีย เพลงนี้ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติมาเลเชียเมื่อสหพันธรัฐมาลายาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2500 ทำนองเพลงนี้เดิมใช้เป็นเพลงสรรเสริญประจำรัฐเประ  ซึ่งเพลงนี้ได้หยิบยืมทำนองมาจากเพลงฝรั่งเศสที่มีชื่อว่า "ลา โรซาลี" (La Rosalie) อีกชั้นหนึ่ง ผู้ประพันธ์ทำนองเพลงนี้คือ ปีแยร์-ฌอง เดอ เบรังเยร์ (Pierre-Jean de Béranger) ชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2323 - 2400

เนื้อร้อง


ภาษามลายู อักษรโรมันภาษามลายู อักษรยาวีถอดเสียงเป็นอักษรไทยคำแปล

Negaraku,
Tanah tumpahnya darahku,
Rakyat hidup,
bersatu dan maju,

Rahmat bahagia,
Tuhan kurniakan,
Raja kita,
Selamat bertakhta.

Rahmat bahagia,
Tuhan kurniakan,
Raja kita,
Selamat bertakhta.

نڬاراكو
تانه تومڤهڽ دارهكو
رعيت هيدوڤ
برساتو دان ماجو

رحمة بهاڬيا
توهن كورنياكن
راج كيت
سلامت برتختا

رحمة بهاڬيا
توهن كورنياكن
راج كيت
سلامت برتختا

นการากู
ตานะห์ ตุมปะห์ญา ดาระห์กู
รักยัต ฮิดุป
เบร์ซาตู ดัน มาจู

ระห์มัต บาฮากียา
ตูฮัน กูร์นียากัน
ราจา กีตา
สลามัต เบร์ตัคตา

ระห์มัต บาฮากียา
ตูฮัน กูร์นียากัน
ราจา กีตา
สลามัต เบร์ตัคตา

แผ่นดินของข้า
คือผืนดินถิ่นเกิด
ผองประชาพำนัก
ด้วยรักสามัคคี ก้าวหน้า

จงประสพสุขล้วน
ขอพระเจ้าทรงอำนวยพร
ขอองค์ราชา
ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม

จงประสพสุขล้วน
ขอพระเจ้าทรงอำนวยพร
ขอองค์ราชา
ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม

 

   

อาหารประจำชาติ

 

  

 

นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย โดยนาซิ เลอมัก จะเป็นข้าวหุงกับกะทิ และใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง ได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น  ไข่ต้มสุก และถั่วอบ ซึ่งนาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตอง และมักทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทยด้วย

 

กีฬาประจำชาติ

 

 

          silat ศิลปะการป้องกันตัวของชนชาวมลายูคือ Silat โดยศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้มีมาเป็นเวลานานแล้ว Silat ได้กำเนินขึ้นมาเป็นเวลานับร้อยพันปีมาแล้ว ลักษณะของศิลปะการป้องกันตัวที่เรียกว่า Silat นั้นมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. Silat คือการเคลื่อนไหวของร่างกายในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูหรือคู่ต่อสู้
2. Silap คือช่วงจังหวะลีลาที่จะใช้ในศิลปะการป้องกันตัว
3. Silau คือการตอบโต้ที่ใช้จากการป้องกันตัวที่ศัตรูหรือคู่ต่อสู้โจมตีตัวเรา
                 ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat สามารถที่จะกล่าวได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหว, ช่วงจังหวะและลีลา, การตอบโต้ที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้นโดยเป็นระบบ เป็นระเบียบและละเอียดอ่อนในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูและคู่ต่อสู้
ในการเรียนเกี่ยวกับศิลปะการป้องกันตัว Silat นั้น คนหนึ่งๆ มีการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับที่      แตกต่างกันตามความสามารถและประสิทธิภาพของแต่ละคน โดยปกติแล้วระดับ            

 

    ความสามารถของศิลปะการป้องกันตัว Silat มีอยู่ 5 ระดับ คือ
       1.ระดับ Mengetahvi Seni เป็นระดับที่รู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ช่วงลีลา ศิลปะการตอบโต้
       2.ระดับBudaya Seni เป็นระดับการเรียนรู้วิถีชีวิตและคำสั่งการ พร้อมการเผยแพร่  ศิลปะการป้องกันตัว Silat
       3.ระดับ Bangsa Seni เป็นระดับการศึกษาเชิงลึกของศิลปะการป้องกันตัว และภูมิหลังของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       4.ระดับ Budi Pekerti Seni เป็นระดับการเรียนรู้ เข้าใจกฏระเบียบ และหลักเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       5.ระดับ Jiwa Seni เป็นระดับสร้างจิตสำนึกในศิลปะการป้องกันตัว Silat และศึกษาความเร้นลับของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       6.ระดับ Alam Seni เป็นระดับการเผยแพร่ศิลปะการป้องกันตัว Silat และสร้างหรือรักษากฏเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat ให้อยู่ในจิตวิญญาณของนักศิลปะการป้องกันตัว Silat ทุกคน
       ศิลปะการป้องกันตัว Silat มีการเคลื่อนไหว ช่วงลีลาการก้าว ลูกไม้ การหลีก การตอบโต้ การต่อย การถีบ การโจมตี ที่แตกต่างกันตามที่ครูศิลปะการป้องกันตัวต่างๆเป็นผู้คิดลูกไม้ของศิลปะการป้องกันตัว ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat จึงมีหลากหลายชื่อเช่น
1. Seni Silat Gayong
2. Silat Lincah เป็น 1 ใน 4 ของSilat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
3. Silat Cekak เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
4. Silat Lintau
5. Silat Kalimah
6. Silat kuntau Melayu
7. Silat Minangkabau
8. Silat Gayung Patani เกิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เติบโตในมาเลเซีย เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
9. Silat Sendeng
10. Silat Sunting
11. Silat Abjad
12. Silat Gayang Malaysia เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย

ประเพณีและวัฒธรรมประจำชาติ

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศบรูไน


           ด้วยเหตุที่มีหลายชนชาติอยู่รวมกัน ทำให้ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายผสมผสานกัน ซึ่งมีทั้งการผสานวัฒนธรรมจากชนชาติอื่น และการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของชนแต่ละกลุ่มในแต่ละพื้นที่

การรำซาบิน (Zabin)

          เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการฟ้อนรำที่ได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิงชายจำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์แบบอาระเบียน และกลองเล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว

เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan)

          เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองด้วย 

เครื่องแต่งกายประจำชาติ


 


         สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว

 

สกุลเงิน

 


 

          ริงกิต (Ringgit) เป็นสกุลเงินของประเทศมาเลเซีย 1  ริงกิตมาเลเซียเท่ากับประมาณ 10 บาท ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1 ริงกิต, 5 ริงกิต, 10 ริงกิต, 20 ริงกิต, 50 ริงกิตและ 100ริงกิต

 

ดอกไม้ประจำชาติ

สำหรับประเทศมาเลเซียนั้น มีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย

  

บุคคลสำคัญ


 


ดร.มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด (Dr.Mahathir bin Mohamad)

 

          นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด เป็นผู้วางรากฐานพัฒนาประเทศในรูปแบบของแผนพัฒนาประเทศที่มีชื่อว่า VISION 2020 ซึ่งเป็นผู้นำมาเลเซียสู่ความเจริญทัดเทียมนานาประเทศ



ตนกู อับดุล ราห์มาน (Tunku Abdul Rahman)

 

          ผู้นำมาเลเซียไปสู่เอกราชและเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของประเทศ (Bapa of Malaysia)

ที่มา :http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศมาเลเซีย,http://aec.ubru.ac.th/index.php/aec-group/mmalaysia