ประเทศอินโดนิเซีย (Indonesia)

ข้อมูลทั่วไป

 ประเทศอินโดนีเซีย           อินโดนีเซีย (อินโดนีเซียIndonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซียRepublik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซียKalimantan) , ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซียIrian) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์(อินโดนีเซียTimor)
        

         อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.1 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย

          เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย

          ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506

ชื่อเป็นทางการ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
ชื่อเมืองหลวง จาการ์ตา (Jakarta)
เมืองสำคัญ ได้แก่ จาการ์ตา สุราบายา บันดุง เมดาน เซมารัง ปาเลมบัง
วันชาติ 17 สิงหาคม
วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (สมาชิกก่อตั้ง) 
ภาษาประจำชาติ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนาประจำชาติ ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือศาสนาพุทธ
สกุลเงิน รูเปียห์ (Rupiah)
ลักษณะภูมิศาสตร์

     

อินโดนีเซียมีพื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร เป็นแผ่นดิน 2,027,087 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
- หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วยเกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
- หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา  ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
- หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
- อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
- อินโดนีเซียตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทร อินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่นช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
ภูมิประเทศ

     

ทิศเหนือ                  ติดกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก

ทิศตะวันตกเฉียงใต้      ติดกับมหาสมุทรอินเดีย

ทิศตะวันออก             ติดกับติมอร์ – เลสเต และปาปัวนิวกินี

ทิศใต้                     ติดกับทะเลติมอร์

    อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีหมู่เกาะมากที่สุดในโลกประมาณ 17,508 เกาะ แบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วนคือ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ หมู่เกาะซุนดาน้อย หมู่เกาะมาลุกุ และอีเรียนจายา

แผนที่
ลักษณะภูมิอากาศ อากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร มี 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)
ประชากร ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วยชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่มซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
ระบอบการปกครอง 

 อินโดนีเซียมีระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหารรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2488 ได้กำหนดให้ใช้หลักปัญจศีล เป็นหลักในการปกครองประเทศ ประกอบด้วย 

      1) การนับถือพระเจ้าองค์เดียว            
      2) การเป็นมนุษย์ที่เจริญและคงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม 
      3) ความเป็นเอกภาพของอินโดนีเซีย              
      4) ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน และ 
      5) ความยุติธรรมในสังคมชาวอินโดนีเซียทั้งมวล

การแบ่งเขตการปกครอง        ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 31 จังหวัด (provinces - propinsi-propinsi) 2 เขตปกครองพิเศษ* (special regions - daerah-daerah istimewa) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** (special capital city district - daerah khusus ibukota) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ

   

      ในอดีตเศรษฐกิจของอินโดนีเซียพึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก แต่หลังเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันในตลาดโลก อินโดนีเซียจึงหันมาพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ ประกอบรถยนต์ และการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

      นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แร่ธาตุต่างๆ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก และเหล็ก รวมทั้งมีภูมิประเทศที่เอื้อต่อการทำประมงจับสัตว์น้ำและทำเกษตรกรรม โดยปลูพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยาสูบ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กาแฟ โกโก้ และเครื่องเทศ

ตราแผ่นดิน

File:National emblem of Indonesia Garuda Pancasila.svg

        ตราแผ่นดินของอินโดนีเซีย มีชื่อว่า "ตราพญาครุฑปัญจศีล" ลักษณะเป็นรูปพญาครุฑมีขนปีกข้างละ 17 ขน ,หาง 8 ขน, โคนหาง 19 ขน และคอ 45 ขน หมายถึง วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นวันประกาศเอกราช กลางตัวพญาครุฑนั้นมีรูปโล่ ภายในโล่แบ่งเป็นสี่ส่วน และมีโล่ขนาดเล็กช้อนทับอีกชั้นหนึ่ง ดังบรรยายต่อไปนี้

 

        ช่องซ้ายบนของโล่บรรจุรูปหัวควายป่า (ในภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า "บานเต็ง") ถือเป็นสัญลักษณ์ของประชาชน

 

        ช่องขวาบนบรรจุรูปต้นไทร หมายถึงลัทธิชาตินิยม

 

        ช่องซ้ายล่างบรรจุรูปดอกฝ้ายและช่อรวงข้าว ได้แก่ความยุติธรรมในสังคม

 

  1.         ช่องขวาล่างบรรจุสร้อยสีทองร้อยทรงสี่เหลี่ยมสลับทรงกลม คือหลักการของมนุษยธรรมและความผูกพันในสังคมมนุษย์ทื่ไม่มีจุดสิ้นสุด

 

        พื้นโล่ของช่องซ้ายบนและขวาล่างนั้นมีสีแดง ส่วนช่องซ้ายล่างและขวาบนมีสีขาว

 

        โล่ขนาดเล็กที่อยู่กลางนั้นมีสีดำ บรรจุรูปดาวสีทอง หมายถึง ความเชื่อในพระเจ้า

 

         เบื้องล่างของตราที่เท้าของพญาครุฑนั้นจับแพรแถบสีขาว บรรจุคำขวัญประจำชาติซึ่งเขียนเป็นภาษาอินโดนีเซียอย่างเก่า ความว่า"Bhinneka Tunggal lka" แปลได้ว่า "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย"

 

เหตุที่เรียกชื่อตราพญาครุฑปัญจศีล เพราะในโล่กลางตรานี้ได้บรรจุสัญลักษณ์ของหลักการทางการเมือง 5 ข้อของอินโดนีเซีย (ปัญจศีล - ชื่อพ้องกับหลักปัญจศีลของพระพุทธศาสนา) ตรานี้ออกแบบโดยสุลต่านฮามิดที่ 2 แห่งปอนติอานัก (Sultan Hamid II of Pontianak) และได้ประกาศใช้เป็นตราแผ่นดินของอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493

ธงชาติและเพลงชาติ



อาหารประจำชาติ

 

  


              
กาโด กาโด (Gado Gado) 
อาหารยอดนิยมของประเทศอินโดนีเซีย ประกอบไปด้วยผัก และธัญพืชหลากหลายชนิด  ทั้งแครอท มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ต้มสุกด้วย กาโด กาโดจะนำมารับประทานกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ อย่างไรก็ตาม ด้วยเครื่องสมุนไพรในซอส อาทิ รากผักชี หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ทำให้เมื่อรับประทานแล้วจะไม่รู้สึกเลี่ยนกะทิมากจนเกินไปนั่นเอง

  

กีฬาประจำชาติ

 

 

เคมโป คาราเต้  – ​เคม​โป​เป็นกีฬาที่มีรากฐานมาจากประ​เทศญี่ปุ่น ​โดยมีสำนักงาน​ใหญ่ของสหพันธ์อยู่ที่​โอซากา ประ​เทศญี่ปุ่น ​ได้รับ​ความนิยม​ในมา​เล​เซีย, ​เวียดนาม, ติมอร์ ​และ บรู​ไน ​โดย​ในอิน​โดนี​เซียมีคน​เล่นกีฬาชนิดนี้กว่า 400,000 คน ​เท่าที​ได้สัมผัสจาก​การอธิบาย​และ​การสาธิต​แล้ว​ไม่ค่อยจะต่างจากคารา​ เต้ ​โดยจะ​เป็น​การผสมผสานกันระหว่าง​เทควัน​โด-ยู​โด-คารา​เต้ ​ซึ่ง​การ​แต่งตัว​ก็มีลักษณะคล้ายกันด้วย    ส่วน​การออกอาวุธจะ​ใช้​ทั้ง​การ​เตะ, ต่อย, ทุ่ม, บิด, ล็อก ตัดสิน​แพ้ชนะด้วยคะ​แนน ​แบ่ง​การ​แข่งขัน​เป็นรุ่นน้ำหนัก ​เชื่อว่าอิน​โดนี​เซียจะ​เดินหน้า​เต็มที่​เพื่อบรรจุ​เคม​โป​ในซี​เกมส์ครั้งต่อๆ ​ไป​โดย​เฉพาะซี​เกมส์ครั้งที่ 26 ที่อิน​โดนี​เซียจะ​เป็น​เจ้าภาพ​ในปี 2554

 

 

 ตารุง เดราจัต (กีฬาต่อสู้) ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2011 ที่ประเทศอินโดนีเซียปลายปีนี้ เจ้าภาพได้บรรจุ “ตารุง เดราจัต” ศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวของชาวชวาตะวันตก เป็นกีฬาสาธิต แม้กีฬาชนิดนี้จะยังไม่คุ้นหูของคนไทย แต่สำหรับชาวอินโดเซียแล้ว นี่คือกีฬาระดับชาติที่ใช้ทดสอบความแข็งแกร่งของร่ายกายและจิตใจ เตะ… หมัด… ถีบ… คือการออกอาวุธหลัก 3 อย่าง ของ “ตารุง เดราจัต” ศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัว ที่คนอินโดนีเซียทุกเพศทุกวัยรู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยมีนายอัชหมัด เดดจัต หรือคนที่นี่เรียกว่า “ซาง กูรู” เป็นผู้คิดค้นศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้ขึ้นมาเมื่อประมาณ 40 ปีก่อนเนื่องจากในวัยหนุ่มเค้ามักจะถูกเพื่อนๆ รุมแกและทำร้าย จึงพยายามฝึกฝนร่างกายให้แข็งแรง พร้อมๆ ไปกับการนำเอาจุดเด่นของศิลปะการต่อสู้หลากหลายแขนง มาประยุกต์เข้าด้วยกัน จนกลายแบบฉบับของตัวเอง โดยตั้งชื่อว่า “ตารุง เดราจัต” ต่อมาไม่ ว่าจะซางกูรูในวัยหนุ่มจะถูกรุมแตะ ต่อย หรือทำร้ายด้วยของแข็ง เค้าก็สามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้เสมอ เพราะตารุง เดราจัต ไม่ได้ใช้พละกำลังด้านร่างกายเพียงอย่างเดียว ยังต้องรวบรวมสมาธิและความแข็งแกร่งด้านจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียวกับร่างกายด้วยตารุง เดราจัต ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาสาธิต ในการแข่งขันซีเกมส์ 2011 ที่ประเทศอินโดนีเซีย

 


ประเพณีและวัฒธรรมประจำชาติ

 

 


 


                มีชนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์กระจายกันอยู่ตามเกาะ ทำให้วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องที่แตกต่างกันไป

 

วายัง กูลิต (Wayang Kilit)

          เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์นิยมใช้วงดนตรีพื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง

ระบำบารอง (Barong Dance)

           ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เรื่องราวเป็นการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดีกับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด

ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ

          เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้มระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุมศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่เรียกว่า “ปาเต๊ะ” คือส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสันต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง

 

เครื่องแต่งกายประจำชาติ

 
เกบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวหรือเตลุก เบสคาพ (Teluk Beskap) ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด

สกุลเงิน

  

 


 

รูเปียห์ (Rupiah) เป็นสกุลเงินของประเทศอินโดนีเซีย 1,000 รูเปียห์ เท่ากับประมาณ 3 บาท  
The Indonesian Rupiah (IDR) is the official currency of Indonesia. 1000 Indonesian Rupiah = 3 Thai Baht

 

ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1,000 รูเปียห์,  2,000 รูเปียห์,  5,000 รูเปียห์,  10,000 รูเปียห์,  20,000 รูเปียห์ 50,000 รูเปียห์และ 100,000รูเปียห์

   

ดอกไม้ประจำชาติ

 

ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย

  

บุคคลสำคัญ



ซูการ์โน (Sukarno)

 

          ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซียซึ่งมีส่วนสำคัญในการประกาศเอกราชของอินโดนีเซียต่อประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียาวนานถึง 22 ปี จนถูกบีบให้ลงจากอำนาจโดยนายพลซูฮาร์โต





โมฮัมหมัด ฮัตตา (Mohammad Hatta)

 

          ผู้นำการเคลื่อนไหวและผู้ร่วมอุดมการณ์ในการกอบกู้เอกราชกับซูการ์โน เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกและรองประธานาธิบดีของประเทศ 

ที่มา :http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศอินโดนิเซีย,http://aec.ubru.ac.th/index.php/aec-group/mindonesia