ประเทศลาว (Laos)

ข้อมูลทั่วไป

ประเทศลาว       ประเทศลาว- ลาว (ลาว: ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว: ສາທາລະນະລັດປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ສປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง
      ในภาษาอังกฤษ คำว่าลาว ที่หมายถึงประเทศสะกดว่า "Laos" และ ลาวที่หมายถึงคนลาว และภาษาลาวใช้ "Lao" ในบางครั้งจะเห็นมีการใช้คำว่า "Laotian" แทนเนื่องจากป้องกันการสับสนกับเชื้อชาติลาว ที่สะกดว่า Ethnic Lao ในชื่อเต็มจะใช้ว่า (The Lao People’s Democratic Republic) หรือในภาษาไทย (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)


ไฟล์:Mekong River (Luang Prabang).jpg

 
ที่มา :  http://th.wikipedia.org/wiki/ลาว
ชื่อเป็นทางการ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)
ชื่อเมืองหลวง นครเวียงจันทน์
วันชาติ 2 ธันวาคม 
วันเข้าร่วมอาเซียน 23 กรกฎาคม 2540
ภาษาประจำชาติ ภาษาลาว
ภาษาราชการ ภาษาลาว
ศาสนาประจำชาติ พุทธ
สกุลเงิน กีบ
ลักษณะภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศของลาวอาจแบ่งได้เป็น 3 เขต คือ

เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขด ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาสักทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
ทั้งนี้ เมื่อนำเอาพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง วัดความสูงได้ 2,817 เมตร (9,242 ฟุต)
ประเทศลาวมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศ คือ แม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ แม่น้ำสายสำคัญของลาวแห่งอื่นๆ ยังได้แก่
-แม่น้ำอู (พงสาลี - หลวงพระบาง) ยาว 448 กิโลเมตร
-แม่น้ำงึม (เชียงขวาง-เวียงจันทน์) ยาว 353 กิโลเมตร
-แม่น้ำเซบั้งเหียง (สะหวันนะเขด) ยาว 338 กิโลเมตร
-แม่น้ำทา (หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว) ยาว 523กิโลเมตร
-แม่น้ำเซกอง (สาละวัน-เซกอง-อัดตะบือ) ยาว 320 กิโลเมตร
-แม่น้ำเซบั้งไฟ (คำม่วน-สะหวันนะเขด) ยาว 239 กิโลเมตร
-แม่น้ำแบ่ง (อุดมไซ) ยาว 215 กิโลเมตร
-แม่น้ำเซโดน (สาละวัน-จำปาสัก) ยาว 192 กิโลเมตร
-แม่น้ำเซละนอง (สะหวันนะเขด) ยาว 115 กิโลเมตร
-แม่น้ำกะดิ่ง (บอลิคำไซ) ยาว 103 กิโลเมตร
-แม่น้ำคาน (หัวพัน-หลวงพระบาง) ยาว 90 กิโลเมตร

ไฟล์:Luang Prabang Phou Si 2.jpg

ภูมิประเทศ

ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 - 108 องศาตะวันออก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับประเทศจีน (423 กิโลเมตร)
ทิศตะวันออก ติดกับประเทศเวียดนาม (2,130 กิโลเมตร)
ทิศใต้ ติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และประเทศกัมพูชา (541 กิโลเมตร)
ทิศตะวันตก ติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และประเทศพม่า (235 กิโลเมตร)
ความยาวพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กว่ากิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร

แผนที่
ลักษณะภูมิอากาศ สปป. ลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือ และ เขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300 - 2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3 - 6.5 ชั่วโมงต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70 - 85 ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม) มีร้อยละ 75 - 90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเมษายน) ปริมาณน้ำฝนมีเพียงร้อยละ 10 - 25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่เขตก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณแขวงเซียงขวาง

แขวงหลวงพะบาง แขวงไซยะบุลี ได้รับเพียงแค่ 100 - 150 เซนติเมตร ส่วนแขวงเวียงจันและสะหวันนะเขดในช่วง 150 - 200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับ
แขวงพงสาลี แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว

ประชากร

จากสถิติในปี พ.ศ. 2548 (ตามข้อมูลกระทรวงการต่างประเทศของไทย) ประเทศลาวมีประชากรรวม 6,068,117 คน ประกอบด้วยชนชาติต่างๆ หลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า "ประชาชนบรรดาเผ่า" สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดยประมาณ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้
ลาวลุ่ม หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ส่วนใหญ่ได้แก่คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ ใช้ภาษาลาวหรือภาษาตระกูลภาษาไทเป็นภาษาหลัก ประชาชนกลุ่มนี้มีอยู่ร้อยละ 68 ของจำนวนประชากรทั้งหมดและอาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ ถือว่าเป็นกลุ่มชาวลาวที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ
ลาวเทิง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เช่น แขวงจำปาสัก แขวงเซกอง แขวงอัตตะปือ คิดเป็นร้อยละ 22 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
ลาวสูง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่น ชาวม้ง เย้า มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่างๆ ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของลาว เช่น แขวงหลวงพระบาง แขวงเชียงขวาง และตามแนวตะเข็บชายแดนภาคเหนือ ชาวลาวกลุ่มนี้คิดเป็นจำนวนร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมีชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ชาวลาวเชื้อสายจีน รวมทั้งชาวต่างชาติอื่นๆ ในลาวคิดเป็นร้อยละ 2 ของจำนวนประชากรทั้งหมดด้วย

การเมือง

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ซึ่งพรรคนี้เริ่มมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ประธานประเทศ

ระบอบการปกครอง

การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์
- เลขาธิการใหญ่พรรค จูมมะลี ไซยะสอน
- ประธานประเทศ จูมมะลี ไซยะสอน
- นายกรัฐมนตรี ทองสิง ทำมะวง

การแบ่งเขตการปกครอง

ลาวแบ่งเป็น 16 แขวง ในหนึ่งแขวงจะมีหลาย เมือง ซึ่งจะมีหนึ่งเมืองเป็นเมืองหลวงเรียกว่า เมืองเอก และ 1 เขตปกครองพิเศษเรียกว่า นครหลวง ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

ชื่อชื่ออังกฤษชื่อลาวเมืองเอกพื้นที่ (km²)ประชากร
(ปี 2547)
1. แขวงอัดตะปือ Attapu ແຂວງອັດຕະປື เมืองสามัคคีไซ 10,320 114,300
2. แขวงบ่อแก้ว Bokeo ແຂວງບໍ່ແກ້ວ เมืองห้วยซาย 6,196 149,700
3. แขวงบอลิคำไซ Bolikhamxai ແຂວງບໍລິຄໍາໄຊ เมืองปากซัน 14,863 214,900
4. แขวงจำปาสัก Champasak ແຂວງຈໍາປາສັກ เมืองปากเซ 15,415 575,600
5. แขวงหัวพัน Houaphan ແຂວງຫົວພັນ เมืองซำเหนือ 16,500 322,200
6. แขวงคำม่วน Kammouan ແຂວງຄໍາມ່ວນ เมืองท่าแขก 16,315 358,800
7. แขวงหลวงน้ำทา Louang Namtha ແຂວງຫຼວງນ້ຳທາ เมืองหลวงน้ำทา 9,325 150,100
8. แขวงหลวงพระบาง Louang Phabang ແຂວງຫຼວງພະບາງ เมืองหลวงพระบาง 16,875 408,800
9. แขวงอุดมไซ Oudomxai ແຂວງອຸດົມໄຊ เมืองไซ 15,370 275,300
10. แขวงพงสาลี Phongsali ແຂວງຜົ້ງສາລີ เมืองพงสาลี 16,270 199,900
11. แขวงสาละวัน Salavan ແຂວງສາລະວັນ เมืองสาละวัน 10,691 336,600
12. แขวงสะหวันนะเขต Savannakhet ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ เมืองไกสอน พมวิหาน 21,774 721,500
13. นครหลวงเวียงจันทน์ Vientian Capital ນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ เวียงจันทน์
(ประกอบด้วยเมืองจันทบุรี, เมืองสีสัตตนาก,
เมืองไชยเชษฐา เมืองศรีโคตรบอง
เมืองหาดทรายฟอง และตอนใต้ของเมืองชัยธานี)
3,920 692,900
14. แขวงเวียงจันทน์ Vientian ແຂວງວຽງຈັນ เมืองโพนโฮง 15,927 373,700
15. แขวงไซยะบุลี Xaignabouli ແຂວງໄຊຍະບູລີ เมืองไชยบุรี 16,389 382,200
16. แขวงเซกอง Xekong ແຂວງເຊກອງ เมืองละมาม 7,665 83,600
17. แขวงเซียงขวาง Xiangkouang ແຂວງຊຽງຂວາງ เมืองโพนสะหวัน (แปก) 15,880 262,200

ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 ได้มีการยุบเขตพิเศษไซสมบูน (Xaisombounເຂດພິເສດໄຊສົມບູນ; หมายเลข 16 ในแผนที่) อย่างเป็นทางการ ตามดำรัสนายกรัฐมนตรี (คำสั่งนายกรัฐมนตรี) เลขที่ 10/ນຍ. ลงวันที่ 13 มกราคม 2549 โดยเมืองท่าโทมถูกรวมกับแขวงเซียงขวาง และเมืองไซสมบูนถูกรวมกับแขวงเวียงจันทน์

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจของ สปป.ลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับ โดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาดเมื่อปี 2529 สปป.ลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2529 เป็น 491 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ

อย่างไรก็ดี ลาวยังคงประสบปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ที่สำคัญได้แก่ ปัญหาราคาน้ำมัน ที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาการขาดดุลการค้าในอัตราสูง ค่าเงินกีบไม่มีเสถียรภาพ การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย และปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
ทรัพยากรสำคัญของลาว ได้แก่ ไม้ ดีบุก ยิบซั่ม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า (ประธานาธิบดี) ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวคนปัจจุบัน ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี คือ พลโทจูมมะลี ไซยะสอน (ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวอีกตำแหน่งหนึ่ง) ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนายทองสิง ทำมะวง

การลงทุน

การลงทุน รัฐบาลลาวได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น อาทิ มาตรการด้านภาษี อนุญาตให้นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงจำปาสัก และแขวงหลวงพระบาง มีอำนาจอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนแขวงอื่น ๆ สามารถอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าลงทุนไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในลาวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2546 มีมูลค่า 465 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2547 มีมูลค่า 533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 2548 มีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย จีน

ประวัติศาสตร์

สมัยศักดินา

ประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ ของลาว เชื่อว่าอยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรน่านเจ้ามีตำนานโดยขุนบรม และขุนลอ มีลูกสืบหลานต่อๆ กันมา จนถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มผู้รวบรวมอาณาจักรล้านช้างได้เป็นผลสำเร็จในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 13 และมีกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อกันมาหลายพระองค์ ที่สำคัญ เช่น
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระองค์มีความสัมพันธไมตรีที่แนบแน่นกับกษัตริย์ไทย โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช รัชสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของราชอาณาจักรล้านช้าง
ภายหลังเมื่อพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชเสด็จสวรรคตแล้ว เชื้อพระวงศ์ลาวต่างก็แก่งแย่งราชสมบัติกัน จนอาณาจักรล้านช้างแตกแยกเป็น 3 ส่วนคือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน และเพื่อชิงความเป็นใหญ่ต่างก็ขอสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรเพื่อนบ้าน เช่น ไทย พม่า เพื่อขอกำลังมาสยบอาณาจักรลาวด้วยกันในลักษณะนี้ ในที่สุดอาณาจักรลาวทั้ง 3 แห่งนี้จะตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. 2321
สยามได้ปกครองดินแดนลาวทั้งสามส่วนในฐานะประเทศราชรวม 114 ปี ในระยะเวลาดังกล่าวอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ได้ล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2371 เนื่องจากในปี พ.ศ. 2369 พระเจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ได้พยายามทำสงครามเพื่อตั้งตนเป็นอิสระจากสยาม เนื่องจากไม่อาจทนต่อการกดขี่ของฝ่ายไทยได้ ทว่าหลังการปราบปรามของกองทัพไทยอย่างหนัก พระองค์เห็นว่าจะทำการไม่สำเร็จจึงตัดสินพระทัยหลบหนีไปพึ่งจักรวรรดิเวียดนามจนถึง พ.ศ. 2371 พระองค์จึงได้กลับมายังกรุงเวียงจันทน์พร้อมกับขบวนราชทูตเวียดนามพามาเพื่อขอสวามิภักดิ์สยามอีกครั้ง แต่พอสบโอกาสพระองค์จึงนำทหารของตนฆ่าทหารไทยที่รักษาเมืองจนเกือบหมดและยึดกรุงเวียงจันทน์คืน กองทัพสยามรวบรวมกำลังพลและยกทัพมาปราบปรามเจ้าอนุวงศ์อีกครั้งจนราบคาบ จนพระเจ้าอนุวงศ์ต้องหลบหนีไปยังเวียดนามและในคราวนี้เองที่พระองค์ทรงถูกเจ้าเมืองพวนจับกุมตัวและส่งลงมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธเจ้าอนุวงศ์มากจึงทรงให้คุมขังเจ้าอนุวงศ์ประจานกลางพระนครจนสิ้นพระชนม์ ส่วนกรุงเวียงจันทน์ก็มีพระบรมราชโองการให้เผาทำลายจนไม่เหลือสภาพความเป็นเมือง และตั้งศูนย์กลางการปกครองฝ่ายไทยเพื่จดูแลอาณาเขตของอาณาจักรเวียงจันทน์ที่เมืองหนองคายแทน


พรรคประชาชนสมัยอาณานิคม การประกาศเอกราช และสงครามกลางเมือง

ในปี พ.ศ. 2436 สยามได้เกิดข้อขัดแย้งกับฝรั่งเศสในเรื่องอำนาจเหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจนเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 จากการใช้เล่ห์เหลี่ยมของโอกุสต์ ปาวีกงสุลฝรั่งเศส โดยการใช้เรือรบมาปิดอ่าวไทยเพื่อบังคับให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ดินแดนลาวเกือบทั้งหมดก็เปลี่ยนไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของประเทศฝรั่งเศสในปีนั้นและถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังดินแดนลาวส่วนอื่นที่อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็ตกเป็นของฝรั่งเศสอีกในปี พ.ศ. 2450
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาในลาวและดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสอื่นๆ เมื่อญี่ปุ่นใกล้แพ้สงคราม ขบวนการลาวอิสระซึ่งเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกู้เอกราชลาวในเวลานั้นประกาศเอกราชให้ประเทศลาวเป็นประเทศ ราชอาณาจักรลาว หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีอำนาจในอินโดจีนอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากการที่เวียดมินห์ปลดปล่อยเวียดนามได้ จึงเป็นการสั่นคลอนอำนาจฝรั่งเศสจนยอมให้ลาวประกาศเอกราชบางส่วนในปี พ.ศ. 2492 และได้เอกราชสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2496 ภายหลังฝรั่งเศสรบแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู ผู้ที่มีบทบาทในการประกาศเอกราชคือ เจ้าสุวรรณภูมา เจ้าเพชรราช และ เจ้าสุภานุวงศ์ โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ามหาชีวิต (พระมหากษัตริย์) จากอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางเดิม และได้รวมทั้ง 3 อาณาจักรคือ ล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้างเวียงจันทน์ และ ล้านช้างจำปาศักดิ์ เข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรลาว
พ.ศ. 2502 เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์เสด็จสวรรคต เจ้าสว่างวัฒนาจึงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้ามหาชีวิตแทน เหตุการณ์ในลาวยุ่งยากมาก เจ้าสุภานุวงศ์ 1 ในคณะลาวอิสระประกาศตนว่าเป็นพวกฝ่ายซ้ายนิยมคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้าขบวนการประเทศลาว ได้ออกไปเคลื่อนไหวทางการเมืองในป่า เนื่องจากถูกฝ่ายขวาในลาวคุกคามอย่างหนัก ถึงปี พ.ศ. 2504 ร้อยเอกกองแลทำการรัฐประหารรัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมา แต่ถูกกองทัพฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายรุมจนพ่ายแพ้ กองแลต้องลี้ภัยไปสหรัฐจนถึงปัจจุบัน
เหตุการณ์ทางการเมืองในระยะเวลาไม่นานหลังจากนั้นบังคับให้ลาวต้องกลายเป็นสมรภูมิลับของสงครามเวียดนาม และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดการรัฐประหารและสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อ ภายใต้การแทรกแซงของชาติต่างๆ ทั้งฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายโลกเสรี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2518 พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและเวียดนามเหนือ โดยการนำของเจ้าสุภานุวงศ์ ก็ยึดอำนาจรัฐจากรัฐบาลประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาสำเร็จ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาทรงยินยอมสละราชสมบัติ ปฏิวัติลาวจึงประกาศสถาปนาประเทศลาวเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 โดยยังคงแต่ตั้งให้อดีตเจ้ามหาชีวิตเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลระบอบใหม่ แต่ภายหลังพรรคประชาชนปฏิวัติลาวก็ได้กุมตัวอดีตเจ้ามหาชีวิตและมเหสีไปคุมขังในค่ายกักกันจนสิ้นพระชนม์ เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองในเวลาต่อมา


สมัยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

สภาพการปกครอง และการบริหารด้านเศรษฐกิจของลาวเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในระยะหลังของทศวรรษ 2555 ต่อมาเมื่อเจ้าสุภานุวงศ์สละตำแหน่งจากประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อจากเจ้าสุภานุวงศ์คือ ท่านไกสอน พมวิหาน และเมื่อท่านไกสอนถึงแก่กรรมกะทันหัน ท่าน หนูฮัก พูมสะหวัน ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อมา ยุคนี้ลาวกับไทยเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาท่านหนูฮักสละตำแหน่ง ท่านคำไต สีพันดอนรับดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ จนถึงปี พ.ศ. 2549 ท่านคำไตลงจากตำแหน่ง ท่านจูมมะลี ไซยะสอน จึงเป็นผู้ที่รับตำแหน่งประธานประเทศลาว


ตราแผ่นดิน

 

ไฟล์:Emblem of Laos.svg

 

ตราแผ่นดินของลาว-แบบปัจจุบันเป็นตราของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 หลังจากการใช้นโยบายจินตนาการใหม่ มีลักษณะตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมวดที่ 10 มาตราที่ 90 ไว้ว่า :-

 

"เครื่องหมายชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นรูปวงกลม ด้านล่างมีรูปครึ่งกงจักรเป็นฟันเฟืองและโบว์อักษร "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" (ลาว: "ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ") สองข้างล้อมด้วยรวงข้าวสุกเป็นรูปวงพระจันทร์และโบว์สีแดงเขียนอักษร "สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร (ลาว: "ສັນຕິພາບ ເອກກະລາດ ປະຊາທິປະໄຕ ເອກະພາບ ວັດທະນາຖາວອນ") ระหว่างกลางของสองปลายรวงข้าวมีรูปพระธาตุหลวง อยู่กลางรูปวงกลมมีหนทาง ทุ่งนา ป่าไม้ และเขื่อนไฟฟ้าน้ำตก"

ธงชาติและเพลงชาติ

ไฟล์:Flag of Laos.svg  
 

ธงชาติลาว- แบบปัจจุบันเริ่มใช้มาตั้งแต่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นวันสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมวดที่ 10 มาตราที่ 91 ดังนี้

"ธงชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นธงพื้นสีคราม, แถบแดง, และวงเดือนสีขาวอยู่กึ่งกลางของธงชาติ. ความกว้างของธงเท่ากับสองส่วนสามของความยาว, ความกว้างขอบแถบสีแดงแต่ละข้างเท่ากับกึ่งหนึ่งของแถบสีคราม และวงเดือนสีขาวกว้างเท่ากับสี่ส่วนห้าของความกว้างแถบสีคราม."
ธงนี้มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน ได้รับการออกแบบขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย มหาสิลา วีระวงส์ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวลาว
ธงนี้เป็นหนึ่งในธงของประเทศที่ปกครองด้วยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ที่ไม่มีสัญลักษณ์รูปค้อนเคียวของขบวนการคอมมิวนิสต์สากล ซึ่งมีอยู่น้อยมาก


ความหมายของธงชาติลาว
สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
พระจันทร์สีขาว เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง และหมายถึงเอกภาพของชาติภายใต้การปกครองของรัฐบาลพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (พรรคคอมมิวนิสต์ลาว) หรือหมายถึงการกลับมารวมกันอีกครั้งของชาวลาวสองฝั่งโขง


ประวัติความเป็นมาของธงดวงเดือน
ในอดีตช่วงปี พ.ศ. 2488 นั้น ภายหลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว ขบวนการลาวอิสระได้ประกาศให้ประเทศลาวเป็นเอกราชจากฝรั่งเศสและประกาศจัดตั้งรัฐบาลลาวอิสระ โดยใช้ธงนี้เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหว แต่ 6 เดือนให้หลังต่อมาฝรั่งเศสก็กลับเข้ามาปกครองลาวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศสและล้มรัฐบาลลาวอิสระลง (ได้ให้เอกราชแก่ลาวภายหลังในปี พ.ศ. 2498 ลาวจึงปกครองตนเองต้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ธงนี้ก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของขบวนการปะเทดลาวแทน ซึ่งขบวนการนี้จัดตั้งโดยผู้นำขบวนการลาวอิสระส่วนหนึ่ง ที่นิยมแนวคิดทางการเมืองฝ่ายซ้าย ภายใต้การนำของเจ้าสุภานุวงศ์
เมื่อขบวนการปะเทดลาวเคลื่อนไหวปลดปล่อยลาว ล้มล้างรัฐบาลระบอบกษัตริย์ และจัดตั้งรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ปกครองประเทศสำเร็จ ธงนี้ก็ได้รับการรับรองให้เป็นธงชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518

 

เพลงชาติลาว- หรือ เพงซาดลาวในภาษาลาว (ลาว: ເພງຊາດລາວ) เป็นเพลงที่ได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติของราชอาณาจักรลาวอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2490 แต่งขึ้นทั้งส่วนคำร้องฉบับแรกสุด ประพันธ์โดย มหาพูมี[1] และ ทำนองเรียบเรียงเมื่อปี พ.ศ. 2484 โดย ดร.ทองดี สุนทอนวิจิด (ດຣ.ທອງດີ ສຸນທອນວິຈິດ: พ.ศ. 2448 - 2511)
อันเป็นช่วงเวลาที่ประเทศลาวซึ่งอยู่ภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศสในเวลานั้น กำลังมีการตื่นตัวในจิตสำนึกชาตินิยมมากขึ้น โดยฝรั่งเศสเป็นผู้ให้การส่งเสริม เพื่อต่อต้านแนวคิดมหาอาณาจักรไทย (ภาษาลาวเรียกว่า "ลัทธิไทยใหญ่") ของรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามในเวลานั้น เพื่อไม่ให้ลาวหันกลับไปรวมหรือพึ่งพาไทยให้ปลดแอกจากฝรั่งเศส ส่วนผู้ประพันธ์บทร้องคือ มหาพูมี (ไม่มีนามสกุล) สันนิษฐานว่าเขียนขึนในระยะเวลาเดียวกัน[2]
เพลงชาติลาวฉบับที่มหาพูมีได้แต่งคำร้อง ได้เริ่มใช้เป็นเพลงชาติของประเทศลาวสืบมาตั้งแต่ พ.ศ. 2490 ต่อเนื่องมาถึงสมัยพระราชอาณาจักรลาว (ตั้งแต่ พ.ศ. 2492) จนถึงปี พ.ศ. 2518 เมื่อพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ชนะสงครามกลางเมืองและเข้ากุมอำนาจรัฐได้สำเร็จ และ สามารถล้มล้างรัฐบาลระบอบกษัตริย์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2518 เนื้อร้องของเพลงชาติลาวสมัยราชอาณาจักรที่ประพันธ์โดยมหาพูมี จึงถูกยกเลิก และได้มีการเปลี่ยนเนื้อเพลงเป็นฉบับที่แต่งโดยท่านสีซะนะ สีสาน (ສີຊະນະ ສີສານ) โดยประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นวันสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เนื้อเพลงชาติฉบับดังกล่าวได้ใช้มาจนถึงปี พ.ศ. 2531 รัฐบาลลาวจึงได้รับรองเพลงชาติซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อเพลงบ้างเล็กน้อยมาเป็นเนื้อร้องฉบับปัจจุบัน ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฉบับลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531

เนื้อร้อง



ทำนอง: ทองดี สุนทอนวิจิด
คำร้อง : สีซะนะ สีสาน

อักษรลาวปริวรรตเป็นอักษรไทยถ่ายรูปอักษรด้วยอักษรไทย

ຊາດລາວຕັ້ງແຕ່ໃດມາ
ລາວທຸກຖ້ວນຫນ້າເຊີດຊູສຸດໃຈ
ຮ່ວມແຮງຮ່ວມຈິດຮ່ວມໃຈ
ສາມັກຄີກັນເປັນກຳລັງດຽວ
ເດັດດ່ຽວພ້ອມກັນກ້າວຫນ້າ
ບູຊາຊູກຽດຂອງລາວ
ສົ່ງເສີມໃຊ້ສິດເປັນເຈົ້າ
ລາວທຸກຊົນເຜົ່າສະເໝີພາບກັນ

ບໍ່ໃຫ້ພວກຈັກກະພັດ
ແລະພວກຂາຍຊາດເຂົ້າມາລົບກວນ
ລາວທັງມວນຊູເອກະລາດ
ອິດສະຫລະພາບຂອງຊາດລາວໄວ້
ຕັດສິນໃຈສູ້ຊິງເອົາໄຊ
ພາຊາດລາວໄປສູ່ຄວາມວັດທະນາ

ซาดลาวตั้งแต่ใดมา
ลาวทุกถ้วนหน้าเซิดซูสุดใจ
ฮ่วมแฮงฮ่วมจิดฮ่วมใจ
สามักคีกันเปันกำลังเดียว
เดัดเดี่ยวพ้อมกันก้าวหน้า
บูซาซูเกียดของลาว
ส์งเสิมใซ้สิดเปันเจ้า
ลาวทุกซ์นเผ์าสะเหมีพาบกัน

บํ่ให้พวกจักกะพัด
และพวกขายซาดเข์ามาล์บกวน
ลาวทังมวนซูเอกะลาด
อิดสะละพาบของซาดลาวไว้
ตัดสินใจสู้ซิงเอาไซ
พาซาดลาวไปสู่ความวัดทะนา

ชาติลาวตั้งแต่ใดมา
ลาวทุกถ้วนหน้าเชิดชูสุดใจ
ร่วมแรงร่วมจิตร่วมใจ
สามัคคีกันเป็นกำลังเดียว
เด็ดเดี่ยวพร้อมกันก้าวหน้า
บูชาชูเกียรติของลาว
ส่งเสริมใช้สิทธิ์เป็นเจ้า
ลาวทุกชนเผ่าเสมอภาพกัน

บ่ให้พวกจักรพรรดิ 
และพวกขายชาติเข้ามารบกวน
ลาวทั้งมวลชูเอกราช
อิสรภาพของชาติลาวไว้
ตัดสินใจสู้ชิงเอาชัย
พาชาติลาวไปสู่ความวัฒนา

  

อาหารประจำชาติ

 

ซุบไก่ (Chicken Soup)- เป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองของประเทศลาว มีส่วนผสมในการประกอบอาหาร คือ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม และหอมแดง ทั้งนี้ อาหารลาวโดยส่วนใหญ่มักจะมีผักและสมุนไพรเป็นส่วนผสมในการปรุง

กีฬาประจำชาติ


กีฬาพื้นบ้านลูกข่าง  เป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 25 ซึ่งประเทศลาวเป็น เจ้าภาพจัดการแข่งขัน มีวิธีการเล่นเหมือนกับประเทศไทยลูกข่างถือเป็นการละเล่นชนิดหนึ่ง ที่มีการเล่นโดยการผูกด้วยเชือก และขว้างลูกขว้างลงพื้นให้เกิดการหมุน โดยมีกติกาการเล่น (1) หากขว้างลูกข่างไม่หมุนหรือออกนอกวงถือว่าแพ้ (2) ผู้แพ้จะต้องนำลูกข่างของตนวางในวงกลมเพื่อให้คนอื่นใช้ลูกข่างที่พันเชือกขว้างไปบนลูกข่างนั้นเป็นการลงโทษ
 
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่น
1.ลูกข่าง ส่วนมากจะทำจากไม้มะยมกลึงมีตะปูเป็นเดือยแหลมตรงกลางคนละ 1 ลูก
2.เชือกยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร ปลายเชือกด้านหนึ่งผูกด้วยไม้ หรือร้อยด้วยฝาเบียร์
3.วงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50-60 เซนติเมตร
 
วิธีเล่น 
ในการเล่นลูกข่างไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น ก่อนเล่นจะขีดวงกลมขนาด 50-60 เซนติเมตรบนพื้นดิน แล้วจัดลำดับการเล่นตามวิธีการจัดลำดับก่อนการเล่นดังกล่าวแล้วก่อนเล่นทุกคนใช้เชือกพันลูกข่างของตน โดยพันจากปลายเดือยขึ้นมาจนถึงตัวลูกข่าง แล้วถือชายหนึ่งไว้ระหว่างซอกนิ้วชี้และนิ้วกลาง ส่วนหัวแม่มือหงายรองรับปลายเดือยลูกข่างไว้ เมื่อเริ่มเล่นผู้เล่นจะขว้างลูกข่างตกถึงพื้นจะหมุนหากลูกข่างของผู้ใดไม่หมุน หรือออกนอกวงถือว่าแพ้จะถูกทำโทษด้วยการให้เจ้าของลูกข่างนำลูกข่างของตนวางไว้ในวงกลม ให้ผู้อื่นนำลูกข่างที่พันเชือกเตรียมไว้ขว้างลงไปบนลูกข่างนั้นเรียกว่า “โจ๊ะลูกข่าง” ทีละคน หากลูกข่างทำจากไม้ไม่ดีจะแตก แต่ถ้าทำจากไม้มะยมจะเป็นเพียงรอยเจาะเท่านั้น

ประเพณีและวัฒธรรมประจำชาติ


ประเพณีและศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ-วัฒนธรรมของลาวจะมีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมทางภาคอีสานของไทยมาก ในด้านดนตรีแคน ถือเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ โดยมีวงดนตรีคือ วงหมอลำ และมี รำวงบัดสลบ (Budsiob) ซึ่งเป็นการเต้นที่มีท่าตามจังหวะเพลง โดยจะเต้นพร้อมกันไปอย่างเป็นระเบียบ ถือเป็นการร่วมสนุกกันของชาวลาวในงานมงคล


การตักบาตรข้าวเหนียว-ถือเป็นจุดเด่นของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งโดยปกติแล้วนิยมใส่บาตรด้วยข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อถึงเวลาฉัน ชาวบ้านจะยกสำรับกับข้าวไปถวายที่วัด เรียกว่า “ถวายจังหัน” โดยเวลาใส่บาตรจะนั่งคุกเข่าและผู้หญิงต้องนุ่งซิ่น ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว และมีผ้าพาดไหล่ไว้สำหรับเป็นผ้ากราบพระเหมือนกัน

เครื่องแต่งกายประจำชาติ


เครื่องแต่งกายประจำชาติ-
ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน
สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย

สกุลเงิน





กีบ (Kip)- เป็นสกุลเงินของประเทศลาว
* 1,000 กีบ เท่ากับประมาณ 4 บาทไทย
ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 500 กีบ, 1,000 กีบ, 2,000 กีบ, 5,000 กีบ, 10,000 กีบ, 20,000 กีบ และ 50,000 กีบ

 

ดอกไม้ประจำชาติ

 

ดอกจำปา(Champa)- ดอก Champa หรือ ดอกลีลาวดี เป็นดอกไม้ประจำชาติและเป็นสัญลักษณ์ของประเทศลาว มีกลิ่นหอม และมีหลายสี เช่น สีแดง สีเหลือง สีชมพู และโทนสีอ่อนต่างๆ ดอก Champa เป็นตัวแทนของความจริงใจ และความสุขในชีวิต จึงนิยมใช้ประดับในพิธีต่างๆ หรือทำเป็นพวงมาลัยเพื่อต้อนรับแขก ดอก Champa บานทุกวัน และอยู่ได้นาน จึงมักปลูกอย่างแพร่หลาย และเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะในบริเวณวัด

  

บุคคลสำคัญ



เจ้าสุภานุวงศ์ (ลาว: ສຸພານຸວົງ)-
 หรือ ประธานสุภานุวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ที่เมืองหลวงพระบาง เป็นเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง เป็นประธานประเทศ (ประธานาธิบดี) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คนแรกหลังจากลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองจากราชอาณาจักรมาเป็นสาธารณรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2518 ทั่วโลกรู้จักในสมญานาม "เจ้าชายแดง" หรือ "The Red Prince"


ไฟล์:Kaysone DDR 1982.jpg

ไกสอน พมวิหาน- (อังกฤษ: Kaysone Phomvihane, ลาว: ໄກສອນ ພົມວິຫານ; 13 ธันวาคม พ.ศ. 2463 — 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535) เลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคปฏิวัติประชาชนลาวคนแรก และนายกรัฐมนตรีคนแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ได้เป็นประธานประเทศจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันมีอนุสรณ์สถานของท่านอยู่ทุกแขวงทุกเมืองทั่วประเทศ และมีรูปของท่านปรากฏบนธนบัตรสกุลเงินกีบของลาวด้วย

ที่มา :http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศลาว,http://aec.ubru.ac.th/index.php/aec-group/mlaos